กริ่งปวเรศ (ทองคำ)

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

กริ่งปวเรศ (ทองคำ)


ได้ฤกษ์เบิกโรงเรื่ององค์กริ่งปวเรศเสียที กริ่งนี้สร้างน้อยครั้ง ครั้งละไม่น่าจะเกิน 8 องค์ เป็นกริ่งสายตรงเพื่อพระราชพิธีแห่งองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น ตำนานบันทึกว่า น่าจะมีมิเกิน 30 องค์ทั้งหมด แต่โฉมที่ปรากฏและรายชื่อผู้ถือครองก็น้องๆ 30 เข้าแล้ว แนวโน้มหรือแนวน้อมคนถือพระปลอมโดยเข้าใจว่าตนเองถือกริ่งปวเรศจริงก็ไม่ใช่น้อย
เค้ารอยการสร้างครั้งที่ 1 พึงมีว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสร้างแทนกริ่งทองคำที่ใช้ทำพิธีปลุกเสกน้ำพุทธมนต์ (ของร.4) ซึ่งได้หายไป โดยใช้ กริ่งปทุมสุริยวงศ์ เป็นแบบอย่าง...ในการสร้างครั้งที่สอง (ปีพ.ศ. 2409) สร้างถวายล้นเกล้า ร.4 โดยเฉพาะ ทรงคิดแบบจำเพาะขึ้นมา (น่าจะเพิ่มบัวด้านหลัง 1 คู่) ตอกพระศกด้วยตุ๊ดตู่ให้สวยงาม เก็บความจากหนังสือ ปวเรศเล่ม 3 พ.ศ.2548 โดยพินิจสุริยาบุตร จากนั้นชุดกริ่งปวเรศก็ค่อยทยอยสร้างออกมาเช่น ถวาย ร.5 คราวทรงผนวช (จำนวนตรวจสอบไม่ได้) และในพระราชพิธีขึ้นครองราชสมบัติขององค์รัชกาลที่ ๕
กระทั่งครั้งสุดท้ายใน พิธีรับมหาสมณุตมาภิเศก ขององค์พระปวเรศ (ทรงยอมรับเป็นสมเด็จพระสังฆราช) และที่มิอาจละเลยคุณพินิจได้เผยถึง ไม้เท้าปวเรศ มีเหรียญสมเด็จโตติดอยู่บนฐานยอดอยู่คู่ตลอดกับพระกริ่งปวเรศด้วย แถมยังมีพระสวยเนื้อทองคำล้ำค่า เช่น นางพญา-เข่าโค้ง-เข่าตรง สมเด็จเกศไชโย (ทองคำ) ซุ้มกอ-พระรอด (ทองคำ) และ ฯลฯ ทำเอาผมใจชื้นขึ้นเป็นกอง เพราะพระทองคำหายากก็ดี พระที่มีองค์โดดเด่นพวกเซียนจะเล่นตอกตะปูทันที ด้วยเพราะไม่มีปัญญาหาได้นั่นเอง
ทว่านักเลงพระแท้ต้องแน่ใจและมั่นใจในตนยึดกุศลบทอันเด่นโดดไว้ตลอดพวกปลวก พวกมอด ปัญญาหนาทึบกระดืบคลานมารังควานไม่ได้ดอกครับ
พูดเกี่ยวกับไม้เท้าปวเรศ มีกริช (มีด) พิเศษด้ามหนึ่งงามกลึงเกลา เพราะทำจาก เบ้าเงินยวง ท่วงท่าองค์พระที่น่าจะเป็นด้ามวางองค์และทรงตามกริ่งปวเรศจารยันต์พิเศษบน ใบมีด คิดจะเก็บไว้ดูเพียงผู้เดียวก็ใช่ที่ จึงนำให้พิจารณาร่วมกันว่ากรมพระยาปวเรศ นั้นน่าจะมีของดีมีกฤตยาคมสั่งสม โดยเจ้าใหญ่นายโตบางท่านบางองค์หลงเหลือหรือหลงลืมอยู่
โปรดคิดและพินิจดูกริ่งปวเรศทองคำลำดับต่อจากนี้ไปก่อน สังเกตการณ์สะกิดเม็ดงาหน้า-หลัง-แล้วสังเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด กริ่งปวเรศทองคำ องค์นี้มิได้ใช้ตุ๊ดตู่ตอกเม็ดพระศก อกผายไหล่ผึ่ง กึ่งๆ มาทางกริ่งกลางบวกกริ่งใหญ่ สังเกตให้ดีที่พระโอษฐ์ (ปาก) เข้าเค้ามากเหมือนกริ่งปวเรศ การเสด็จประทับด้านข้างแม้มิปล่อยวางอย่างต้นแบบ แต่ก็แทบจะใกล้เคียงเพียงแต่การก้มพระพักตร์ยังหักมุมไกล พระหนุ (คาง) เลยไม่งุ้มลง กริ่งองค์ทองคำทำนองนี้ทำมามีเพียง 3-5 องค์และคงตั้งใจจะใช้ทำพิธีกรรมบางประการจริง แต่องค์กริ่งอาจมีขนาดเขื่อง ผมยังงมปมเรื่องไม่กระจ่าง
อย่างน้อยกริ่งพระปวเรศทองคำก็มิใช่ตำนานอีกต่อไป แม้จะไร้เหตุผลประคับประคองรองรับก็เถอะ
ผมเองเพิ่งเจอะเจอนี่แหละได้แต่จ้องมองภาพถ่ายเหมือนๆ กัน
ผมนั้นลืมเพิ่มเติมข้อมูลกรมพระยาปวเรศถนัด คือ พระองค์สันทัดภาษาบาลี มากและทรงวางรากฐานการปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ให้มีสภาพเป็นเช่นปัจจุบัน ที่สำคัญคือทรงนับถือพ่อปู่โตลึกซึ้งถึงได้นำเหรียญรูปท่านมาติดฐานธารพระกร (ไม้เท้า) เอาไว้ ผมมิได้ถ่ายภาพเก็บยังคิดเจ็บจิตตะหงิดๆ หากเกิดน้ำท่วมสวมรอยอีกครั้งดังปีกาลกิณีผยอง ข้าวของวินาศสันตะโรมโหฬาร จนป่านฉะนี้ยังมิมีทีท่าจะเยียวยาจนฟื้นคืนสภาพเดิม ขณะผู้คนเริ่มลืมเลือน เหมือนครั้งหนึ่งนานมาแล้วทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นในไทย และในชีวิต...ตอนหน้าจะปิดองค์พระกริ่งปวเรศ เหตุเพราะปรารถนาหรือว่าอยากนำของหายากยิ่งและเป็นของจริงสิ่งเดียวเก็บเกี่ยวเผื่อเหลือ เผื่อย้ำยันจดวันข้างหน้า ทั้งเป็นอุทาหรณ์ให้ตระหนักรักกับสิ่งซึ่งบรรพบุรุษได้ถ่ายทอดแล้วถ่ายเทลงบนกาลเวลามาด้วยเลือดและเหงื่อเพื่อเรา
เพื่อเบ้าหลอมทั้งมวล


บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ