สถาปัตยกรรมและการออกแบบในรูปแบบใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ 'Biophilic Design' สอดคล้องกับกระแสภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นอาคารแนวใหม่เพื่อก้าวเข้าสู่โลกที่ยั่งยืนมากขึ้น ลดการปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์ ตามแนวคิด “Zero Carbon”
นางสาวศรินรัตน์ กมลรัตนพิบูล กรรมการบริหาร design worldwide partnership หรือ dwp บริษัทที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบระดับสากล ที่มีสาขาทั่วโลกกว่า 13 แห่ง และ นายกิตติพศ บูชางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนฯ ร่วมแถลงข่าวเปิดแผนการดำเนินการธุรกิจใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ “ไบโอฟิลิก ดีไซน์” ที่สอดคล้องกับกระแสภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน พร้อมเผยทิศทางการทำธุรกิจ
โดยนายกิตติพศ กล่าวว่า "การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น กำลังเป็นกระแสที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าทั่วโลก โดยบริษัทออกแบบและองค์กรต่าง ๆ ที่ไว้วางใจให้ออกแบบและก่อสร้างอาคาร ที่ dwp เริ่มต้นจากการพูดคุยกับลูกค้าของเรา และเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้บริการในคอนเซ็ปต์นี้ และได้ขยายไปถึงลูกค้าทั้งหมดของเรา การตอบสนองความท้าทายใหม่นี้ เป็นส่วนสำคัญในการออกแบบของ dwp เพื่อให้แน่ใจว่างานสร้างสรรค์ของเรามีส่วนทำให้เกิดความยั่งยืนและเพื่ออนาคตของคนรุ่นใหม่ด้วย
หนึ่งในคอนเซ็ปต์การออกแบบเพื่อความยั่งยืนของ dwp ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าทั่วโลกนั้นก็คือ 'Biophilic Design' ซึ่งเน้นแนวคิด การนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ โดยการออกแบบนั้น เป็นการนำพันธุ์ไม้และวัสดุธรรมชาติ ผสมผสานกันไว้อย่างเหมาะสมลงตัวในอาคารที่สวยงาม และให้ปริมาณแสงที่เหมาะสมที่สุด สำหรับผู้ใช้งาน การใช้วัสดุที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นต้น
"หนึ่งในโครงการแรก ๆ ของเราที่ใช้คอนเซ็ปต์นี้ในการออกแบบ คือ สำนักงาน Smart Dubai ที่ได้รับรางวัล เราได้ออกแบบให้มีต้นไม้ภายในอาคารในแบบที่เป็นส่วนตัวสำหรับผู้ใช้งาน ในขณะที่ใช้ไม้ที่ยั่งยืนในการก่อสร้าง และเรายังคงนำคอนเซ็ปต์นี้ไปใช้ ในอีกหลายประเทศ อาทิ ประเทศไทย ก็คือสำนักงาน Chanel Thailand และ RAKxa Wellness"
ความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจในการออกแบบของ dwp คือการออกแบบเพื่อความยั่งยืน ซึ่งได้รวมอยู่ในหลักการ 4 ประการ ของเราคือ 1. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้ปลายทาง 2. เลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3. ออกแบบภายในงบประมาณที่เหมาะสม 4. มีความยืดหยุ่นตลอดกระบวนการออกแบบ โดยต้องพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง และข้อกำหนดต่างๆ รวมไปจนถึงวัสดุของอาคาร ซึ่งทีมงานระดับโลกของ dwp ได้รวมเอาหลักการทั้ง 4 ข้อนี้ มาปรับใช้ในการทำงานกับทุกโครงการ และยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่สำคัญ 2 ประการ: คือ ภายในปี 2023 dwp จะเข้าสู่การดำเนินงานด้าน Net Zero เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การลดพลังงานหมุนเวียน และการลดคาร์บอน เพื่อให้ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยมลพิษ
และอีกหนึ่งความท้าทายของ dwp กับการก้าวไปสู่มิติใหม่ของโลกแห่งอนาคต คือ dwp Metatecture กับประสบการณ์ใหม่ ในแบบของ Metaverse โดยนางสาวศรินรัตน์ กมลรัตนพิบูล กรรมการบริหาร dwp กล่าวว่า "เราเป็นผู้นำในการออกแบบโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ dwp มีอยู่แล้ว โดยระบบนี้จะช่วยเราสร้างแบบจำลองและช่วยลูกค้าในด้านการลดคาร์บอนฟุตปรินท์ได้อย่างยั่งยืน ในตอนนี้เรามุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีโลก Metaverse โดยการสร้างสภาพแวดล้อมดิจิตอล พร้อมประสบการณ์ และทดสอบบนระบบ Blockchain ที่มีการใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย สามารถลดการผลิตและลดต้นทุน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะสำหรับแวดวงธุรกิจต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ แฟชั่น ที่ต้องการมิติใหม่ๆ ให้กับธุรกิจของตนเองได้อีกด้วย