Toggle navigation
วันจันทร์ ที่ 26 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
"อีแวป"รอบผลิตเพิ่ม-อัตรารอดสูง (จบ)
"อีแวป"รอบผลิตเพิ่ม-อัตรารอดสูง (จบ)
วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Tweet
ฉบับนี้ "เกษตรก้าวไกล" กลับมา ตามต่อการเลี้ยงไก่เนื้อซึ่งฉบับที่แล้วทาง "น.สพ.สถาพร สุทธิลักษณ์" สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก ประจำภาคกลาง-ตะวันออก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้บอกว่า ปัจจุบันไก่เนื้อมีอัตราการเจริญเติบโตดี มีระยะเวลาในการเลี้ยงลดลง อีกทั้งยังมีการเพิ่มรอบในการเลี้ยงด้วย โดยเกิดจาก 5 ปัจจัยคือ มีพันธุ์สัตว์ดี, อาหารสัตว์ดี, โรงเรือนดี, การบริหารจัดการฟาร์มดี และเคร่งครัดกับระบบการป้องกันโรคดี และด้าน "นายอลงกรณ์ วารีรักษ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ ได้บอกถึงที่มาของโครงการว่า โครงการนี้เกิดจากแนวคิดของประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในด้านการส่งเสริม อาชีพและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรผ่านการประกันราคาภายใต้ระบบ Contract Farming โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
สำหรับฉบับนี้เรามาตามต่อที่ "นายปรีชา มาเกษตร" ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 ของครอบครัวที่เข้ามารับช่วงกิจการต่อจากบิดาคือ นายสุวัฒน์ มาเกษตร กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมากับการร่วมโครงการกับซีพีเอฟ บริษัทได้ให้คำแนะนำในขั้นตอนต่างๆ เป็นอย่างดี โดยผลผลิตที่ได้จากฟาร์ม บริษัทรับซื้อและจ่ายผลตอบแทนให้อย่างยุติธรรม
"ที่สำคัญคืออาชีพนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเฉลี่ยเดือนละ 40,000-50,000 บาทต่อเดือน นับว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างมั่นคงเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ อีกทั้งยังปราศจากความเสี่ยงทั้งในด้านการผลิตและการตลาดเพราะบริษัทได้เข้ามารองรับความเสี่ยงแทน"
โดยบริษัทจะทำสัญญาประกันราคาไก่ตามน้ำหนักกับฟาร์ม รวมถึงการส่งเสริมการเลี้ยงและการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการปรับปรุงการเลี้ยงจากระบบโรงเรือนแบบ เปิดมาเป็นระบบโรงเรือนแบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรืออีแวป (EVAP) เพื่อ ปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้เหมาะกับการเติบโตของไก่ ทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลดลง มีผลผลิตดีขึ้น และสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี
นายปรีชา กล่าวว่า ปัจจุบันนอกจากฟาร์มสุวัฒน์จะเลี้ยงไก่เพิ่มจาก 4-5 รอบต่อปี เป็น 5-6 รอบต่อปี แล้วระยะเวลาการเลี้ยงยังลดลง จาก 45-50 วันต่อรอบ เหลือเพียง 34-36 วันต่อรอบ แม้จะมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่าเพราะจำนวน รอบการผลิตที่เพิ่มขึ้นและอัตราการรอดของสัตว์สูง สามารถเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"ไก่เนื้อที่โตเร็วและแข็งแรง มาจากอาหาร พันธุ์สัตว์และการบริหารจัดการฟาร์มที่ดีที่ซีพีเอฟจัดหาให้ และสุวัฒน์ฟาร์มไม่มีการใช้ฮอร์โมน หากแต่เกิดจากความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการเลี้ยง และใส่ใจเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ ทำให้ไก่ของฟาร์ม นี้เป็น "ไก่ไทย ปลอดภัยไร้ฮอร์โมน" 100 เปอร์เซ็นต์" นายปรีชา กล่าวย้ำ
ทั้งนี้ น.สพ.สถาพร ยังได้แนะนำวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดนกแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ว่า เกษตรกรควรปฏิบัติตามระเบียบของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด หากมีสัตว์ปีกตายผิดปกติควรแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที ในส่วนของผู้บริโภคควรเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่ได้มาตรฐานผ่านการปรุงสุกเท่านั้น โดยปฏิบัติตามหลักการป้องกันโรคคือ "การทานร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
3 ปี ผลสำเร็จแปลงใหญ่ทุเรียนหนองโสน สร้า...
...
ส่องทิศทางการค้าสินค้าเกษตรไทย สศก. เผย ...
...
กลุ่มบริษัท เอสเอ็มเอส ภายใต้กลุ่มพลูผล ...
...
‘แปลงใหญ่มะม่วงส่งออกหนองแซง’ จ.กาฬสินธุ...
...
"สมาคมชาวไร่ยาสูบเบอร์เล่ย์สุโขทัย" จัดป...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ