ตลาด “ออนไลน์-อีคอมเมิร์ซ” เนื้อหอม! นอสตร้า ผุดแอปฯ ชิงชัย “ซื้อ-ขาย” สินค้าผ่านมือถือ

วันจันทร์ที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ตลาด “ออนไลน์-อีคอมเมิร์ซ” เนื้อหอม! นอสตร้า ผุดแอปฯ ชิงชัย “ซื้อ-ขาย” สินค้าผ่านมือถือ


นอสตร้า โลจิสติกส์ เปิดเกมรุกตลาด “ออนไลน์-อีคอมเมิร์ซ” ผุดแอปฯ NOSTRA LOGISTICS ePOD ติดตามการขนส่งเรียลไทม์บนมือถือ ลดต้นทุนได้กว่า 60% มุ่งแก้ Pain Point สร้างโอกาสใหม่ให้ตลาดเทคโนโลยีโลจิสติกส์ หลังพบโควิด-19 ดันขนส่งและอีคอมเมิร์ซ เติบโต 35% พุ่ง 6.6 หมื่นล้านบาท เฉพาะเดือนเม.ย. 63 มียอดใช้บริการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัว NOSTRA LOGISTICS ePOD หรือ “Electronic Proof of Delivery” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับติดตามการขนส่งและกระจายสินค้าด้วย GPS Tracking on Mobile โดยติดตั้งแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดตามได้ทุกจุดส่งสินค้า พร้อมสนับสนุนธุรกิจเข้าสู่ระบบออนไลน์ในยุคอีคอมเมิร์ซ เป็นโซลูชันที่เหมาะที่สุดในการแก้ปัญหาการติดตามงานขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการการลงทุนเงินจำนวนมาก แต่สามารถติดตามการขนส่งสินค้าได้ง่ายๆ ด้วยสมาร์ทโฟนซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีจีพีเอสอยู่ในตัว

โดยผู้ประกอบการหรือผู้บริหารงานขนส่งสามารถเปิดใช้ระบบ NOSTRA LOGICTICS สำหรับการจัดการและควบคุมแผนการขนส่ง โดยมีฟังก์ชันที่ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดออเดอร์งานทั้งหมดของพนักงานขนส่งแต่ละคน พร้อมส่งพิกัดและเส้นทางขับรถในแต่ละจุดหมายปลายทาง การให้พนักงานเช็คอินและอัปเดตสถานะการขนส่งในแต่ละจุดหมาย และการปิดงานขนส่งด้วยรูปถ่าย ลายเซ็นต์ หรือ QR Code  สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะการขนส่งสินค้าได้แบบเรียลไทม์ โดยทราบตำแหน่งพิกัดการขนส่งงาน คำนวณเวลาที่น่าจะถึงปลายทาง ข้อมูลสรุปสถานะการขนส่ง ทำรายงานสรุปข้อมูลต่างๆ และพิเศษด้วยความสามารถในการดูข้อมูลประวัติการขนส่งย้อนหลัง รวมถึงผู้คุมงานขนส่งจะเห็นระดับแบตเตอรี่โทรศัพท์ของผู้ส่งสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งทำได้มากกว่า POD ทั่วไป ด้วยจุดเด่นที่ช่วยลดต้นทุนการติดตามสินค้าได้กว่า 60%

ทั้งนี้ NOSTRA LOGISTICS ePOD พัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งแก้ Pain Point ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และสร้างโอกาสใหม่ให้ตลาดเทคโนโลยีโลจิสติกส์ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและผู้ให้บริการด้านการขนส่งติดตามการขนส่งสินค้าแบบเรียลไทม์เพื่อให้ถึงปลายทางได้อย่างถูกต้องและทันตามเวลาที่กำหนด สามารถควบคุมและติดตามสถานการณ์การขนส่งได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ต้องการจ่ายเงินลงทุนสูงในยุคที่ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 แพร่ระบาด แม้การระบาดจะลดลง หรือมีวัคซีนรักษาโรคแล้ว เชื่อว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“วิเคราะห์จากสถานการณ์ตลาดระยะนี้ โดยข้อมูลของ SCB EIC เดือนมกราคม 2563 ได้ประเมินมูลค่าธุรกิจขนส่งพัสดุทั้งตลาดอยู่ที่ 6.6 หมื่นล้านบาท เติบโต 35% จากปีก่อน และจำนวนขนส่งพัสดุไม่ต่ำกว่า 4 ล้านชิ้นต่อวัน ควบคู่ไปกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่ 17% เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมามียอดใช้บริการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า  ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจด้านขนส่งภายในประเทศได้รับผลบวกจากวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคและการปรับตัวของธุรกิจ โดยการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวจากช่องทางหน้าร้านออฟไลน์สู่ร้านค้าออนไลน์ ส่งผลให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์ขยายออกไปในวงกว้างและกลายเป็น New normal ของผู้โภค ทำให้การขนส่งสินค้าสำหรับตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากความต้องการบริการขนส่งและโลจิสติกส์ที่เพิ่มในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับปัญหาการจัดการการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ปัญหาแรงงานที่มีน้อยกว่าปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น รถขนส่งสินค้าไม่เพียงพอ และส่งไม่ทันเวลา เนื่องจากมีพัสดุที่ต้องขนส่งปริมาณมาก”

 



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ