Toggle navigation
วันอังคาร ที่ 30 พฤษภาคม 2566
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
กระบวนการยุติธรรม
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
Www.siamturakij.com
Www.siamturakij.com
Home
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
สมเด็จวัดระฆังรุ่นแรก พิมพ์หลังเบี้ย
สมเด็จวัดระฆังรุ่นแรก พิมพ์หลังเบี้ย
วันพุธที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Tweet
นับว่าเป็นครั้งแรกที่พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์หลังเบี้ย ได้ปรากฏสู่สายตาของสาธารณชน พระองค์ที่ได้อัญเชิญภาพถ่าย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มาให้ท่านผู้มีเกียรติได้รับชมกันในวันนี้ เป็นพระสมเด็จฯ หลังเบี้ยของวิศวกรอาวุโสท่านหนึ่งที่ผู้เขียนเคารพนับถืออย่างสูง ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า พระองค์นี้ท่านได้รับมาจากคุณแม่ของท่านที่เสียชีวิตไปแล้ว หากยังมีชีวิตอยู่ก็จะมีอายุประมาณ 108 ปี คุณแม่ได้รับมาจากคุณตา คุณตาได้รับมาจากคุณทวด คุณทวดของท่านเป็นทหารเรือ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดระฆัง ได้รับพระองค์นี้มาจากเจ้าพระคุณสมเด็จโตโดยตรง ความรู้สึกแรกที่ผู้เขียนได้เห็นพระองค์นี้ ก็มีความเชื่อมั่นว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างอย่างแน่นอน เพราะเนื้อหามวลสารเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ผู้เขียนได้ลองสอบทานอายุการได้มาของพระองค์นี้แล้ว ก็ปรากฏว่ามีความเป็นไปได้ตามที่ท่านผู้เป็นเจ้าของได้เล่าให้ฟัง ดังนั้น จึงถือว่า พระองค์นี้ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน จัดเป็นพระในตำนานที่จะสามารถศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
พระองค์นี้ ถ้าไม่พิจารณาดีๆ จะเห็นเป็นพระสมเด็จวัดพลับ เพราะพระวัดพลับเป็นที่คุ้นตามาช้านาน และเรายังไม่เคยพบเห็น พระสมเด็จหลังเบี้ย เช่นนี้มาก่อน แต่ถ้าหากได้พิจารณาในรายละเอียดแล้ว ก็จะเห็นว่า องค์พระด้านหน้าจะคล้ายกับพระวัดพลับพิมพ์พุงป่องใหญ่ แต่มีส่วนที่แตกต่างคือ พระสมเด็จวัดระฆังหลังเบี้ยจะมีกรอบเป็นเส้นซุ้ม ล้อมรอบองค์พระอีกชั้นหนึ่ง องค์พระมีขนาดความสูง 3.0 ซม. ความกว้าง 1.9 ซม. และความหนา 1.4 ซม. ด้านหลังของพระจะกลมกลึงเป็นรูปทรงเหมือนหอยที่ใช้เป็นเบี้ยในสมัยโบราณจริงๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ "พระสมเด็จวัดระฆังหลังเบี้ย" ด้วยเหตุดังกล่าวนี้
กล่าวกันว่า พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์หลังเบี้ย เป็นพระสมเด็จฯรุ่นแรกที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างขึ้น ก่อนที่จะสร้างพระสมเด็จเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ตามที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ ในหนังสือ "พระสมเด็จ (โต) พระเครื่องรางของขลังฉบับมาตรฐาน" โดย เทพชู ทัพทอง พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2511 ได้เขียนไว้ว่า ชนิดของพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ มีหลายอย่าง ซึ่งพระสมเด็จหลังเบี้ย "คือด้านหลังองค์พระนูนเหมือนหลังเบี้ย เป็นพระรุ่นแรก" และได้เขียนถึงเรื่องการสร้างพระของสมเด็จท่านว่า "เมื่อผสมและตำได้ที่แล้ว ก็นำมาอัดพิมพ์คราวละ 400-500 องค์ แล้วท่านก็ทำการปลุกเสก วันละสามครั้ง ต่อจากนั้นก็นำออกแจกตามสมควรแก่โอกาส แม่พิมพ์ของพระสมเด็จฯ เดิมทีเดียว มีพิมพ์เดียว เรียกว่าพิมพ์หลังเบี้ย ต่อมา หลวงวิจิตรนฤมล พึ่ง ปฏิมาประกร เจ้ากรมช่างสิบหมู่ ได้แกะแม่พิมพ์ถวายหลายแบบ จัดทำให้มีพระมากลักษณะขึ้น ทั้งใหญ่ กลาง เล็ก แต่ไม่มากถึง 70-80 แบบ"
ไม่ได้เฉพาะหนังสือของ เทพชู ทัพทอง เท่านั้น ที่ลงว่า พระสมเด็จหลังเบี้ย เป็นพระรุ่นแรกที่สมเด็จโตท่านสร้าง แต่ยังมีหนังสือเล่มเก่าๆ อีกหลายเล่ม ก็ได้เขียนไว้ทำนองเดียวกัน ประกอบกับเมื่อผู้เขียนได้พิจารณาทั้งพิมพ์ทรง เนื้อหามวลสาร และธรรมชาติความเก่าของรักที่ลงไว้ พร้อมแผ่นทองที่ปิดอยู่ของพระองค์นี้อย่างละเอียดแล้ว ก็สรุปได้ว่า พระสมเด็จวัดระฆัง หลังเบี้ย ตามที่กล่าวกันเป็นตำนานนั้น "เป็นจริง" โดยพระองค์ที่ได้นำภาพมาให้ท่านผู้มีเกียรติรับชมกันในวันนี้ "เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์"
อดุลย์ ฉายอรุณ : โทร.08-1813-1701
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายพลังง...
...
ทำความรู้จัก ! การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ผ...
...
ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ ไม่ใช่เว...
...
ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนและโอกาสใหม่ขอ...
...
“CEO ERA THAILAND” คาดการณ์ทิศทางอนาคตธุ...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ