Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2566
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
Classicfind
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
Www.siamturakij.com
Home
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
สมเด็จวัดระฆังรุ่นแรก พิมพ์หลังเบี้ย
สมเด็จวัดระฆังรุ่นแรก พิมพ์หลังเบี้ย
วันพุธที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Tweet
นับว่าเป็นครั้งแรกที่พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์หลังเบี้ย ได้ปรากฏสู่สายตาของสาธารณชน พระองค์ที่ได้อัญเชิญภาพถ่าย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มาให้ท่านผู้มีเกียรติได้รับชมกันในวันนี้ เป็นพระสมเด็จฯ หลังเบี้ยของวิศวกรอาวุโสท่านหนึ่งที่ผู้เขียนเคารพนับถืออย่างสูง ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า พระองค์นี้ท่านได้รับมาจากคุณแม่ของท่านที่เสียชีวิตไปแล้ว หากยังมีชีวิตอยู่ก็จะมีอายุประมาณ 108 ปี คุณแม่ได้รับมาจากคุณตา คุณตาได้รับมาจากคุณทวด คุณทวดของท่านเป็นทหารเรือ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดระฆัง ได้รับพระองค์นี้มาจากเจ้าพระคุณสมเด็จโตโดยตรง ความรู้สึกแรกที่ผู้เขียนได้เห็นพระองค์นี้ ก็มีความเชื่อมั่นว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างอย่างแน่นอน เพราะเนื้อหามวลสารเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ผู้เขียนได้ลองสอบทานอายุการได้มาของพระองค์นี้แล้ว ก็ปรากฏว่ามีความเป็นไปได้ตามที่ท่านผู้เป็นเจ้าของได้เล่าให้ฟัง ดังนั้น จึงถือว่า พระองค์นี้ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน จัดเป็นพระในตำนานที่จะสามารถศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
พระองค์นี้ ถ้าไม่พิจารณาดีๆ จะเห็นเป็นพระสมเด็จวัดพลับ เพราะพระวัดพลับเป็นที่คุ้นตามาช้านาน และเรายังไม่เคยพบเห็น พระสมเด็จหลังเบี้ย เช่นนี้มาก่อน แต่ถ้าหากได้พิจารณาในรายละเอียดแล้ว ก็จะเห็นว่า องค์พระด้านหน้าจะคล้ายกับพระวัดพลับพิมพ์พุงป่องใหญ่ แต่มีส่วนที่แตกต่างคือ พระสมเด็จวัดระฆังหลังเบี้ยจะมีกรอบเป็นเส้นซุ้ม ล้อมรอบองค์พระอีกชั้นหนึ่ง องค์พระมีขนาดความสูง 3.0 ซม. ความกว้าง 1.9 ซม. และความหนา 1.4 ซม. ด้านหลังของพระจะกลมกลึงเป็นรูปทรงเหมือนหอยที่ใช้เป็นเบี้ยในสมัยโบราณจริงๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ "พระสมเด็จวัดระฆังหลังเบี้ย" ด้วยเหตุดังกล่าวนี้
กล่าวกันว่า พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์หลังเบี้ย เป็นพระสมเด็จฯรุ่นแรกที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างขึ้น ก่อนที่จะสร้างพระสมเด็จเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ตามที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ ในหนังสือ "พระสมเด็จ (โต) พระเครื่องรางของขลังฉบับมาตรฐาน" โดย เทพชู ทัพทอง พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2511 ได้เขียนไว้ว่า ชนิดของพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ มีหลายอย่าง ซึ่งพระสมเด็จหลังเบี้ย "คือด้านหลังองค์พระนูนเหมือนหลังเบี้ย เป็นพระรุ่นแรก" และได้เขียนถึงเรื่องการสร้างพระของสมเด็จท่านว่า "เมื่อผสมและตำได้ที่แล้ว ก็นำมาอัดพิมพ์คราวละ 400-500 องค์ แล้วท่านก็ทำการปลุกเสก วันละสามครั้ง ต่อจากนั้นก็นำออกแจกตามสมควรแก่โอกาส แม่พิมพ์ของพระสมเด็จฯ เดิมทีเดียว มีพิมพ์เดียว เรียกว่าพิมพ์หลังเบี้ย ต่อมา หลวงวิจิตรนฤมล พึ่ง ปฏิมาประกร เจ้ากรมช่างสิบหมู่ ได้แกะแม่พิมพ์ถวายหลายแบบ จัดทำให้มีพระมากลักษณะขึ้น ทั้งใหญ่ กลาง เล็ก แต่ไม่มากถึง 70-80 แบบ"
ไม่ได้เฉพาะหนังสือของ เทพชู ทัพทอง เท่านั้น ที่ลงว่า พระสมเด็จหลังเบี้ย เป็นพระรุ่นแรกที่สมเด็จโตท่านสร้าง แต่ยังมีหนังสือเล่มเก่าๆ อีกหลายเล่ม ก็ได้เขียนไว้ทำนองเดียวกัน ประกอบกับเมื่อผู้เขียนได้พิจารณาทั้งพิมพ์ทรง เนื้อหามวลสาร และธรรมชาติความเก่าของรักที่ลงไว้ พร้อมแผ่นทองที่ปิดอยู่ของพระองค์นี้อย่างละเอียดแล้ว ก็สรุปได้ว่า พระสมเด็จวัดระฆัง หลังเบี้ย ตามที่กล่าวกันเป็นตำนานนั้น "เป็นจริง" โดยพระองค์ที่ได้นำภาพมาให้ท่านผู้มีเกียรติรับชมกันในวันนี้ "เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์"
อดุลย์ ฉายอรุณ : โทร.08-1813-1701
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ความทันสมัยแบบอัตลักษณ์จีนและโอกาสใหม่ขอ...
...
“CEO ERA THAILAND” คาดการณ์ทิศทางอนาคตธุ...
...
‘โลจิสติกส์’ กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี...
...
เดินหน้าปลดล็อก “ทับลาน” ยัน! คืนความเป็...
...
เฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งปีของโครงการรณรงค์ “...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ