Toggle navigation
วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
สนข.จัดพิมพ์เขียวระบบขนส่งเชียงใหม่ หวังแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน
สนข.จัดพิมพ์เขียวระบบขนส่งเชียงใหม่ หวังแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน
วันอังคารที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2560
Tweet
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่ และแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน
นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สนข.ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่ และแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน โดยกำหนดโครงข่ายเส้นทางและรูปแบบของระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา สนข. ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นมาแล้ว จำนวน 2 ครั้ง และจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) 5 ครั้ง ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ คือ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit System (LRT)
โดยมีทางเลือกสำหรับโครงข่ายเส้นทางที่เหมาะสม 2 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 โครงข่ายแบบ A เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ 1.เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการ จังหวัดเชียงใหม่และสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่บริเวณแยกข่วงสิง-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่แล้ว กลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดิน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางแยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)
2.เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกรวมโชค เข้าสู่เส้นทางวิ่งใต้ดิน ที่แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ตลาดวโรรส-เชียงใหม่ไนท์บาร์ซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
3.เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 12 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางวิ่งใต้ดินจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หักเลี้ยวลงมาตามถนนคันคลองชลประทาน-แยกตลาดต้นพะยอม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบจุดตัดกับสายสีแดง ผ่านใต้คูเมือง-จุดตัดกับสายสีเขียว บริเวณเชียงใหม่ไนท์บาร์ซ่า และกลับขึ้นใช้เส้นทางบนดิน ที่แยกหนองประทีป-ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ก่อนสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)
ทางเลือกที่ 2 โครงข่ายแบบ B เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่าย ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ 1.เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 15.65 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการและสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชื่อมกับจุดเปลี่ยนสายสีน้ำเงินที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ และสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)
2.เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11.11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสี่แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-กาดหลวง-เชียงใหม่ไนท์บาร์ซ่า-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงใหม่แอร์พอร์ต และสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่
3.เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทางประมาณ 13.81 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-จุดตัดระหว่างสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-คูเมืองทางด้านทิศใต้-สถานีรถไฟเชียงใหม่-บิ๊กซีซูปเปอร์เซ็นเตอร์ และสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)
ทั้งนี้ โครงข่ายหลักทั้ง 2 ทางเลือกดังกล่าวข้างต้น จะมีโครงข่ายรองและโครงข่ายเสริมเชื่อมโยงกับโครงข่ายหลัก ด้วยระบบรถโดยสารประจำทาง โดยโครงข่ายแบบ A ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินและใต้ดิน มีมูลค่าการลงทุน ประมาณ 106,895 ล้านบาท และโครงข่ายแบบ B ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดิน มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 28,419 ล้านบาท
สำหรับการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นฯครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปประมวลผลและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่ต่อไป ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก สบาย และปลอดภัยในการเดินทาง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ โดยภายหลังการประชุมสัมมนาฯครั้งนี้ สนข.จะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับสมบูรณ์ต่อไป
นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคเหนือ รวมถึงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงทำให้เมืองเชียงใหม่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนก่อให้เกิดปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ปัญหาการจราจรที่แออัดคับคั่งในเขตเมือง เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางของประชาชน ซึ่งการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของ สนข. ในครั้งนี้จะทำให้เขตเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
ทรินาโซลาร์เปิดตัวโซลูชันโซลาร์พีวีควบคู...
...
แฟลช เอ็กซ์เพรส เปิด “ศูนย์การเรียนรู้เพ...
...
มนพร หนุนวิทยุการบินฯ เพิ่มศักยภาพบริการ...
...
EBM ทำบุญเสริมสิริมงคล ครบรอบ 2 ปี เปิด...
...
Hitachi Energy ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย ...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ