Toggle navigation
วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อสังหาริมทรัพย์
คณะกรรมการชุดใหม่ ต้องมีครบ 9 คนหรือไม่?
คณะกรรมการชุดใหม่ ต้องมีครบ 9 คนหรือไม่?
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556
Tweet
ด้วยมีท่านเจ้าของร่วมของนิติบุคคลอาคารชุดแห่งหนึ่ง มีข้อสอบถามเกี่ยวกับประเด็นของคณะกรรมการฯ ดังนี้ครับ {quot}ข้อบังคับกำหนดให้มีคณะกรรมการของนิติบุคคลฯ จำนวนเก้าคน คณะกรรมการชุดเดิมอยู่ครบสองวาระแล้ว คณะ กรรมการชุดใหม่จำเป็นต้องมีครบเก้าคนหรือไม่? และบุคคลที่เคยเป็นคณะ กรรมการฯ มาสองวาระแล้ว สามารถที่จะเข้ามาเป็นกรรมการให้ครบจำนวนได้หรือไม่? หรือว่าได้คณะกรรมการชุดใหม่มีกี่คนก็ให้เอาตามจำนวนนั้น{quot}
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ได้กล่าวถึงเรื่องของคณะกรรมการ ไว้ในมาตรา 37 ดังนี้ ให้มีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดประกอบ ด้วยกรรมการไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินเก้าคน ซึ่งแต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคสอง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ เว้นแต่ไม่อาจหาบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งได้
การแต่งตั้งกรรมการ ให้ผู้จัดการนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติ
ดังนั้น หากข้อบังคับของอาคารชุดที่ท่านอาศัยอยู่ได้ระบุจำนวนของคณะ กรรมการฯ ไว้จำนวนเก้าคนแล้ว ท่านก็ต้องมีจำนวนคณะกรรมการให้สอดคล้องกับข้อบังคับฯ ครับ แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วเห็นว่า จำนวนของคณะกรรมการกำหนดให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 จะดีกว่านะครับ (ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินเก้าคน) กรณีที่ข้อบังคับของท่านระบุจำนวนต้องเก้าคนแล้ว หากไม่มีเจ้าของร่วมรายใดประสงค์ที่จะเป็นคณะกรรมการ อาคารชุดฯ ของท่านจะดำเนินการอย่างไร? ขออนุญาตให้ข้อคิดเห็นไว้ครับ
ในส่วนประเด็นเรื่องบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการแล้ว สามารถเข้ามาเป็นอีกได้หรือไม่นั้น ตามวรรคสามของมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ได้ระบุไว้ในช่วงท้ายแล้ว ว่า {quot}เว้นแต่ไม่อาจหาบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งได้{quot} กล่าวคือ หากอาคารชุดของท่านไม่สามารถสรรหาเจ้าของร่วม ผู้ที่จะมาเป็นกรรมการ หรือไม่มีเจ้าของร่วมรายใดที่ประสงค์จะเป็นกรรมการเลย กรรมการท่านเดิมก็สามารถเป็นได้ครับ แต่ท่านควรจะต้องระบุในบันทึก/เอกสารรายงานการประชุมฯ ของท่านให้ชัดเจนโดยอ้างถึงเหตุที่ไม่มีเจ้าของร่วมรายใดสมัครเป็นกรรมการ ที่ประชุมฯ จึงมีมติให้กรรมการชุดเดิม ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการต่อไปอีกหนึ่งวาระด้วยนะครับ
นอกจากนั้นแล้ว ผู้ที่จะสามารถเป็นกรรมการ ได้ ต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรา 37/1 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้ครับ {quot}บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ (1) เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม (2) ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ในกรณีที่เจ้าของร่วมเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือน ไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี (3) ตัวแทนของนิติบุคคลจำนวนหนึ่งคน ในกรณี ที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วมในกรณีที่ห้องชุดใดมีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วมหลายคน ให้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการจำนวนหนึ่งคน{quot}
อีกประเด็นที่จะขออนุญาตกล่าวถึงก็คือลักษณะต้องห้าม ซึ่งในมาตรา 37/2 ได้ระบุว่า {quot}บุคคลซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เคยถูกที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการเพราะเหตุทุจริต หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (3) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ฐานทุจริตต่อหน้าที่ (4) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ{quot}
จากข้อมูลที่ชี้แจงให้ทราบแล้วข้างต้น เชื่อว่าท่านได้รับคำตอบแล้วนะครับ แต่หากยังมีข้อสงสัยหรือประสงค์ที่จะสอบถามประเด็นใดเพิ่มเติมส่งทาง e-mail ได้เลยนะครับ ยินดีตอบทุกคำถาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“โฮมโปร” เดินเกมรุก EEC ปักหมุดแลนด์มาร์...
...
พฤกษา - อินโน พรีคาสท์ ชู “พรีคาสท์” นวั...
...
NEPS ผนึก HUAWEI และ LONGi เปิดตัว “SOLA...
...
"ดูโฮม" รุกย่านธุรกิจ เปิด ‘สาขาเทพารักษ...
...
คอนโดฯ ใหม่สุดฮอต! “ศุภาลัย เซนส์ แจ้งวั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ