Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อสังหาริมทรัพย์
เจ้าของร่วมคอนโดฯต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง?
เจ้าของร่วมคอนโดฯต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง?
วันเสาร์ที่ 02 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
Tweet
ด้วยมีท่านผู้สงสัยรายหนึ่งมีข้อซักถามว่า ได้ซื้ออาคารชุดฯ แห่งหนึ่งไว้ วางเงินจองและทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว แต่ปัจจุบันการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่ของโครงการฯ แจ้งว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2557 บังเอิญ มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนที่ได้ซื้อและเข้าอยู่อาศัยในอาคารชุดฯ แล้ว เล่าให้ฟังถึงเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องชำระให้กับนิติบุคคลอาคารชุดฯ ฟังแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ไปอ่านดูในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ก็ยังมีข้อสงสัยว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดฯ จะต้องชำระมีอะไรบ้าง?
ในประเด็นนี้ ขออนุญาตเรียนชี้แจงเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่ออาคารชุดที่ท่านซื้อได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด แล้วนะครับ ค่าใช้จ่ายก่อนนั้นเชื่อว่า ได้ระบุไว้แล้วในสัญญาจะซื้อจะขาย ตามมาตรฐาน ของกรมที่ดิน (แบบ อ.ช.22) แล้ว ในเรื่องของค่าใช้จ่ายดังกล่าว อาจแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้ครับ
1.ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการส่วนรวม
2.ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง
3.ค่าภาษีอากร ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
4.เงินพิเศษ/เงินล่วงหน้า/เงินกองทุน/เงินอื่นๆ ตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด หรือตามมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
เพื่อความชัดเจนจึงขออนุญาตอ้างถึงพระราชบัญญัติอาคารชุด ที่ได้กล่าวถึงเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับ พ.ศ.2522 และฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ดังต่อไปนี้ครับ {quot}มาตรา 18 เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 หรือตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา 6 เป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองสำหรับห้องชุดดังกล่าวด้วย{quot} มาตรา 18/1 ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตรา 18 ภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสองต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้นทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับเจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา 18 ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปีและอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กำหนดในข้อบังคับ รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18{quot}
นอกจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 และ 18/1 แล้วนั้น ท่านจะต้องชำระค่าใช้จ่ายที่นิติบุคคลอาคารชุดฯ เรียกเก็บเป็นกรณีพิเศษ ตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดฯ หรือตามมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้เห็นชอบแล้วอีกด้วย ซึ่งในประเด็นนี้ ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับ พ.ศ.2522 ได้ระบุไว้ดังนี้ มาตรา 40 ให้เจ้าของร่วมชำระเงินให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด ดังต่อไปนี้ 1.เงินค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดที่เจ้าของแต่ละห้องชุดจะต้องชำระล่วงหน้า 2.เงินทุนเมื่อเริ่มต้นกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อบังคับ หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่ 3.เงินอื่นเพื่อปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ภายใต้เงื่อนไขซึ่งที่ประชุมใหญ่กำหนด
นอกจากนั้น เพื่อประโยชน์แห่งการชำระหนี้ พระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับดังกล่าว ได้ระบุเรื่องนี้ไว้ในมาตรา มาตรา 41 ดังนี้ {quot}เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ให้นิติบุคคลอาคารชุดมีบุริมสิทธิ ดังนี้
1.บุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 259 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของห้องชุดนั้นนำมาไว้ในห้องชุดของตน
2.บุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิ ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีอยู่เหนือทรัพย์ส่วนบุคคลของแต่ละเจ้าของห้องชุดบุริมสิทธิตาม (2) ถ้าผู้จัดการได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วให้ถือว่าอยู่ในลำดับก่อนจำนอง{quot}
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น คงให้ความกระจ่างกับท่านได้นะครับ แต่หากยังมีข้อสงสัยในประเด็นหรือรายละเอียดในข้อใดและประสงค์ให้ขยายความเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ทางอีเมล ครับ...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“โฮมโปร” เดินเกมรุก EEC ปักหมุดแลนด์มาร์...
...
พฤกษา - อินโน พรีคาสท์ ชู “พรีคาสท์” นวั...
...
NEPS ผนึก HUAWEI และ LONGi เปิดตัว “SOLA...
...
"ดูโฮม" รุกย่านธุรกิจ เปิด ‘สาขาเทพารักษ...
...
คอนโดฯ ใหม่สุดฮอต! “ศุภาลัย เซนส์ แจ้งวั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ