จดทะเบียนภาระจำยอม

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จดทะเบียนภาระจำยอม


ด้วยมีคณะกรรมการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งซึ่งบริหารจัดการ/ดูแล ด้วยเจ้าของบ้านกันเอง ได้สอบถามเรื่องของการจดทะเบียนภาระจำยอมว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของท่านสามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้หรือไม่อย่างไร และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่? หากมีต้องชำระเท่าใด? ท่านเล่าให้ทราบว่า หมู่บ้านจัดสรรของท่านได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ถูกต้องเรียบร้อยทุกประการ พร้อมทำการจดทะเบียนรับโอนสาธารณูปโภคจากผู้จัดสรรที่ดินแล้วเช่นกัน เมื่อปีพ.ศ.2549 แต่ในช่วงต้นปี พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ท่านแจ้งว่า หมู่บ้าน จัดสรรบริเวณข้างเคียงหมู่บ้านจัดสรรของท่านได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนี้ ได้เชิญท่านและคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรของท่านฯ ไปพบปะสังสรรค์เพื่อทำความรู้จักกัน และสอบถามขอคำแนะนำในเรื่องการดูแลงานด้านต่างๆ ภายในหมู่บ้านฯ รวมถึงได้มีการพูดคุยถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บ/การบริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ กันหลายประเด็น
มีประเด็นที่ท่านเกิดความสงสัย เนื่องจากมีกรรมการบางท่าน เสนอให้มีการจดทะเบียนควบรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งสองเข้าด้วยกัน แต่ในเรื่องนี้ ก็ยังมีกรรมการบางท่านที่ไม่เห็นด้วย และให้ความเห็นว่าควรศึกษาถึงผลกระทบ และผลดี-ผลเสียกันอย่างรอบคอบก่อน คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรของท่าน จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับทนายความ ซึ่งทนายความก็ให้ความเห็นว่า สามารถดำเนินการได้ แต่กรรมการหมู่บ้านในส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนควบรวมนี้ ให้ความเห็นว่า สามารถจดทะเบียนภาระจำยอม ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แต่ละแห่งใช้ประโยชน์ในสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะได้ ท่านจึงขอสอบถามเรื่องการจดทะเบียนภาระจำยอม ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่?
ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแจ้งถึงความหมายของภาระจำยอม ก่อนนะครับ {quot}ภาระจำยอม{quot} หมายถึง {quot}ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อให้เกิดภาระจำยอมในอสังหาริมทรัพย์ใด จะเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนถึงการใช้สิทธิในทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ในบันทึกข้อตกลงเพื่อให้ทราบว่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตกอยู่ในภาระจำยอม{quot}
ภาระจำยอม จะต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์หนึ่งเรียกว่า {quot}ภารยทรัพย์{quot} อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่งเรียกว่า {quot}สามยทรัพย์{quot} การจดทะเบียนภาระจำยอม ท่านสามารถจดทะเบียนเฉพาะส่วน/จดทะเบียนบางส่วน รวมถึงแก้ไขเปลี่ยนแปลงและเลิกภาระจำยอมได้ ดังนั้น ขอขยายความในประเด็นเหล่านี้ให้ท่านได้รับทราบเพื่อเป็นข้อมูลดังต่อไปนี้ครับ
ภาระจำยอมเฉพาะส่วน หมายถึง กรณีที่เจ้าของคนหนึ่งหรือหลายคนในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ใช่ทุกคนก่อให้เกิดภาระจำยอมผูกผันในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะส่วนของตน
(อ่านต่อฉบับหน้า)


บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ