Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อสังหาริมทรัพย์
อาคารถล่ม/ป้องกันตนเองอย่างไร
อาคารถล่ม/ป้องกันตนเองอย่างไร
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Tweet
ฉบับนี้ขออนุญาตพูดถึงเรื่องของอาคารถล่ม เหตุการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา อาทิ กรณีเหตุการณ์โรงแรมรอยัลพลาซ่า ถล่มที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปีพ.ศ.2536 จากเหตุดังกล่าวทําให้มีผู้เสียชีวิตถึง 137 คน และเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุระหว่างการก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี (สาขาบางพลี) อาคารดังกล่าวได้พังถล่มลงมาทับคนงานเสียชีวิตหลายรายเช่นกัน
การก่อสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป ถือว่าเป็นงานที่ต้องมีวิศวกรควบคุมการออกแบบและการก่อสร้างก็จะต้องมีวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งออกให้โดยสภาวิศวกร และวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องประจําอยู่ ณ สถานที่ก่อสร้างตลอดเวลา อาคารที่มีความสูงมากชั้นผู้คนอยู่กันมากมาย หากเกิดถล่มพังลงมาความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แม้เหตุการณ์อาคารถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร จะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่เราก็ไม่ควรประมาทครับ จากข้อมูลการเกิดอาคารถล่มส่วนใหญ่มักเกิดปัจจัยภายในโดยเฉพาะโครงสร้างที่มีการก่อสร้างแบบผิดวิธีทั้งมาจากผู้ออกแบบและผู้รับเหมา ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น การเกิดแผ่นดินไหวนั้นจะเกิดขึ้นน้อยมาก สำหรับการระวังภัย สิ่งที่มักสังเกตได้ง่ายก่อนที่อาคารจะถล่มคือรอยร้าวตามผนังของอาคาร ตามบริเวณเสารวมไปถึงการได้ยินเสียงอาคารลั่น ตรงนี้ต้องหมั่นสังเกตและตรวจตราให้ดีถ้าเราอยู่ในบ้านที่มีความสูงไม่มากนักประมาณ 1-2 ชั้น หากพบความผิดปกติโดยเฉพาะเสียงอาคารลั่นอันเป็นที่มาของการถล่มขอให้รีบออกจากตัวบ้านโดยทันทีหากท่านอยู่ในตัวอาคารที่มีขนาดใหญ่ หรืออาคารที่มีขนาดสูงตั้งแต่ 4 ชั้น ขึ้นไป เบื้องต้นต้องหาส่วนที่แข็งแรงของอาคารเพื่อการหลบภัยและรีบวิ่งไปหลบในบริเวณนั้น อาทิ บริเวณโถงลิฟต์ โถงบันไดเพราะทั้งสองบริเวณดังกล่าวมักถูกออกแบบให้เป็นแกนของอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรงตรงนี้ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยสุด
แต่ไม่ควรเข้าไปในลิฟต์หรือบันไดเพราะบันไดอาจมีการเคลื่อนตัวจนเกิดอันตรายได้แต่ถ้ายังพอมีเวลาให้หาห้องหลบภัยที่มีขนาดเล็ก เช่น ห้องเครื่องงานระบบห้องจ่ายกระแสไฟฟ้า ถ้าห้องยิ่งมีขนาดเล็กก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้นถือเป็นเกราะป้องกันไปในตัว หลีกเลี่ยงไปหลบภัยห้องหรือพื้นที่กว้างๆ เพราะเสี่ยงเกิดอันตรายมากกว่า ระหว่างนี้ ถ้าหลบอยู่ใต้โต๊ะ/ใต้เตียงได้ก็จะเป็นการดีเพราะเมื่ออาคารถล่มน้ำหนักของเพดานที่ตกลงมาบนสิ่งของหรือเครื่องเรือนที่อยู่ภายในจะทับทำลายสิ่งของเหล่านั้น ทำให้เหลือที่ว่างบางส่วนไว้เพื่อทำการหลบภัยได้อีกด้วยโดยขดตัวก้มตัวต่ำสุดเอามือประสานไว้บนหัว หรือนอนคว่ำราบแล้วกุมหัวขดตัว
ข้อคำนึงอีกอย่างที่สำคัญ หากหนีออกจากตัวอาคารไม่ทันหรือหาห้องขนาดเล็กหรือโถงลิฟต์ โถงบันได ไม่เจอ ให้หลบภัยบริเวณที่ชิดกับกำแพงอาคารเข้าไว้ เพราะเมื่อภายหลังการเกิดอาคารถล่มหน่วยกู้ภัยจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือท่านได้โดยง่ายถ้าหากท่านหลบภัยเข้าไปในที่อยู่ลึกหรือไกลจากบริเวณภายนอกของอาคารมากเท่าไหร่โอกาสที่หน่วยกู้ภัยจะช่วยชีวิตท่าน โอกาสเจอก็จะน้อยลง ห้ามหนีไปซุกแอบบริเวณข้างกรอบประตู/เสาหรือที่ไม้ค้ำยันกับโครงสร้างกำแพงหรือเพดานเด็ดขาด
วิธีการเอาตัวรอดจากอาคารถล่ม ท่านสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย เบื้องต้นการตั้งสติให้มั่นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเหตุการณ์มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ดังนั้นเมื่อท่านตั้งสติได้พร้อมหาที่หลับภัยตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ไม่ว่าอาคารจะถล่ม ท่านก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ครับ มีสติอย่าตื่นตระหนกอาคารยิ่งสูงอย่าวิ่งลงด้านล่างตามธรรมชาติของอาคารถล่มจะพังซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ หรือพังกองไว้ที่เดิมไม่เอนถล่มตามที่หลายคนเข้าใจกันนะครับ ยกตัวอย่าง ถ้าเราอยู่ชั้น 5 ไม่ควรหนีลงไปที่ชั้น 4 หรือชั้นที่ต่ำกว่า เหตุเพราะอาจเกิดอันตราย อาคารถล่มทับจนถึงเสียชีวิตได้ควรหนีไปบนชั้นที่สูงกว่าแต่ถ้าอยู่ชั้นต่ำลงไป เช่น ชั้น 1 และชั้น 2 ควรรีบหนีออกจากอาคารโดยทันที ที่สำคัญต้องมีสติ ควบคุมสถานการณ์ให้ได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีเพิ่มความปลอดภัยหากเกิดอาคารถล่ม ท่านควรดำเนินการดังนี้ครับ 1.มุดและหาที่กำบัง 2.ขดตัวในท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา 3.หากท่านกำลังนอนอยู่บนเตียงให้กลิ้งลงจากเตียงหาช่องว่างที่ปลอดภัยรอบๆ เตียง 4.หากท่านไม่สามารถหนีออกมาจากอาคารได้ก็ให้นอนราบและขดตัวในท่าทารกในครรภ์ ข้างๆ เก้าอี้โซฟาตัวใหญ่ๆ 5.อย่าใช้บันไดเด็ดขาด เพราะบันไดมีช่วงการเคลื่อนตัวที่แตกต่างไป (บันไดจะมีการแกว่งแยกจากตัวอาคาร) 6.อยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของตัวอาคารหรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้และอีกกรณีสำหรับท่านเจ้าของห้องชุดที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคารสูง ที่มีความประสงค์จะทำการตกแต่งต่อเติมภายในห้องชุด ท่านควรจะต้องคำนึงถึงวัสดุ/อุปกรณ์ที่นำเข้ามาตกแต่งด้วยนะครับ วัสดุในการตกแต่งควรเป็นวัสดุที่ทนไฟ มีน้ำหนักเบา เหล่านี้เป็นต้น เชื่อว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงได้บ้าง
มีคำถามข้อสงสัยติดต่อมาได้ที่ E-mail:adisorn.w@Century21.co.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“โฮมโปร” เดินเกมรุก EEC ปักหมุดแลนด์มาร์...
...
พฤกษา - อินโน พรีคาสท์ ชู “พรีคาสท์” นวั...
...
NEPS ผนึก HUAWEI และ LONGi เปิดตัว “SOLA...
...
"ดูโฮม" รุกย่านธุรกิจ เปิด ‘สาขาเทพารักษ...
...
คอนโดฯ ใหม่สุดฮอต! “ศุภาลัย เซนส์ แจ้งวั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ