Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
อสังหาริมทรัพย์
พลัสฯชี้ตลาดคอนโดมือสองเพื่ออยู่อาศัยจริงยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว
พลัสฯชี้ตลาดคอนโดมือสองเพื่ออยู่อาศัยจริงยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Tweet
(14 มิถุนายน 2559) - พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เผยผลสำรวจภาพรวมคอนโดมีเนียมที่อยู่อาศัยมือสองที่นำกลับมาขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ พบยอดขายปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยยอดการซื้อขายใบจองก็ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน แต่ในทางกลับกันการซื้อขายโอนสำหรับโครงการที่สร้างเสร็จแล้วมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราส่วนเป็น 2 ใน 3 ของตลาดคอนโดมิเนียมมือสอง ยอดโอนดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นมาจากอัตราส่วน 1 ใน 4 เมื่อสองปีก่อน และยังพบว่าคอนโดมิเนียม High Rise ย่าน CBD สุดคึกคัก เนื่องจากราคาขายยังต่ำกว่าคอนโดมือหนึ่งที่เปิดใหม่ราว 30-40% พบการถือครอง 10 ปีขึ้นไป สามารถสร้างกำไรให้กับเจ้าของได้มากกว่า 100% ระบุล่าสุดยังไม่พบสัญญาณฟองสบู่ในตลาดคอนโด เหตุตัวเลขการเข้าอยู่อาศัยของคอนโดมีเนียมในกรุงเทพฯ ยังอยู่ในอัตราที่สูงราว 80% และอัตราการซื้อขายใบจองลดลง
นายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่าจากการเก็บข้อมูลของพลัส พร็อพเพอร์ตี้เพื่อทำการวิเคราะห์ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่นำกลับมาขายใหม่ (รีเซล: Resale) ในเขตกรุงเทพมหานาคร ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่าที่อยู่อาศัยประเภทรีเซลได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่าที่อยู่อาศัยมือหนึ่งค่อนข้างมากประมาณ 30-40% ในขณะที่สภาพของที่อยู่อาศัยแบบ รีเซล ก็ไม่ได้แตกต่างจากที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมากนัก
ส่วนพฤติกรรมการขายต่อจะคึกคักที่สุดก่อนการโอนจากเจ้าของโครงการสู่ผู้ซื้อ โดยคอนโดมิเนียมแนวสูง (High Rise) ที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) จะได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดรีเซล พบสัดส่วนของการรีเซลเคยสูงถึง 50-100% ของจำนวนยูนิตทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ภายหลังวิกฤติซับไพร์มในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งส่งผลกระทบมายังเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีต่อๆมาทำให้สัดส่วนการซื้อขายรีเซลสำหรับคอนโด High Rise ลดลงมาอยู่ที่ 30% หากพิจารณาหลังจากการโอนสู่ผู้ซื้อหลังโครงการสร้างเสร็จแล้ว พบว่าช่วงเวลาที่คึกคักที่สุดสำหรับการรีเซลคือภายใน 3 ปีแรก มีค่าเฉลี่ยของยูนิตที่ได้รับการรีเซลที่ 5% ส่วนค่าเฉลี่ยของปีให้หลังอยู่ที่เพียง 3% เท่านั้น
ทั้งนี้ตลาดรีเซลของโครงการที่พลัสทำการสำรวจในช่วงปี 2556-2559 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 10,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าราว 50,000 ล้านบาท หากพิจารณาเปรียบเทียบปี 2557 กับ 2558 ในส่วนของจำนวนยูนิตของการซื้อขายและมูลค่าของการซื้อขายในตลาดรีเซล พบว่าปี 2557 มีสัดส่วนรีเซลที่เป็นการโอนที่ 26% และเพิ่มขึ้นมาเป็น 68% ในปี 2558 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 1,500 ล้านบาท และ 2,300 ล้านบาท เทียบกับมูลค่ายอดขายรีเซลทั้งหมดของบริษัทที่ 4,700 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาทตามลำดับ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีเพราะสัดส่วนของการเก็งกำไรลดลงไปค่อนข้างมาก แต่จำนวนผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามข้อมูลข้างต้นคือปัจจัยด้านราคาที่ต่ำกว่าคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ อีกทั้งยังเป็นทางเลือกในการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่ากว่า
หากพิจารณาในแง่ของผลตอบแทนในส่วนต่างราคา (Capital Gain) เราพบว่าคอนโดมิเนียม High Riseที่ตั้งอยู่ในเขต CBD สามารถสร้างส่วนต่างราคา (Capital Gain) ให้ผู้ถือครองได้ดี นับตั้งแต่การถือครองเพียง 2 ปี ได้ถึง 50% และเพิ่มเป็น 65% ในปีที่ 4 หากระยะเวลาการถือครอง 10 ปี สามารถทำกำไรให้กับผู้ขายได้สูงถึง 100% อย่างไรก็ตามคอนโดมิเนียมรีเซลในเขตพื้นที่ชั้นกลางก็เริ่มได้รับความนิยมเช่นกัน โดยให้ผลตอบแทนจากการขายต่อในระยะเวลาการถือครอง 3-6 ปี อยู่ที่ 40%
“จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ายอดการซื้อขายใบจองปัจจุบันลดลงมาก ส่วนการซื้อขายโอนสำหรับโครงการที่สร้างเสร็จ กลับปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราส่วน 2 ใน 3 ของตลาดคอนโดมิเนียมมือสอง ปรับเพิ่มจากอัตราส่วน 1 ใน 4 เมื่อสองปีก่อน ส่วนที่เหลือ 1 ใน 3 คือการซื้อขายใบจอง ซึ่งก็ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาจากสองปีก่อนเช่นกัน นอกจากนี้ พบว่าตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ 5 ปีย้อนหลัง มีอุปทานใหม่เข้ามาเฉลี่ยปีละ 66,000 ยูนิต แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเติบโตลดลง 16% และ 7% ตามลำดับ ส่วนราคามีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาเฉลี่ยเมื่อสิ้นปี 2558 อยู่ที่มากกว่า 100,000 บาท/ตร.ม. หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อปีในช่วง 5 และ 10 ปี ย้อนหลังคือ 7.3% และ 5.2% ตามลำดับ โดยคอนโดมิเนียม High rise ในเขต CBD ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดรีเซลเนื่องจากมีต้นทุนการขายที่ต่ำกว่าคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ 30-40% สาเหตุที่ราคาต่ำกว่าค่อนข้างมากเพราะที่ดินในเขต CBD มีจำกัดและมีราคาแพงขึ้นทุกปี โครงการใหม่ที่จะสร้างในเขต CBD จึงต้องแบกรับต้นทุนที่ดินที่แพงขึ้นส่งผลให้ราคาขายห้องชุดแพงขึ้น ดังนั้นคอนโดมิเนียมรีเซลในเขต CBD จึงเป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และซื้อเพื่อการลงทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัญญาณฟองสบู่ในตลาดคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ เนื่องจากสัดส่วนของการเก็งกำไรลดลงไปค่อนข้างมาก โดยมีจำนวนผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงเพิ่มขึ้น” นายภูมิภักดิ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“โฮมโปร” เดินเกมรุก EEC ปักหมุดแลนด์มาร์...
...
พฤกษา - อินโน พรีคาสท์ ชู “พรีคาสท์” นวั...
...
NEPS ผนึก HUAWEI และ LONGi เปิดตัว “SOLA...
...
"ดูโฮม" รุกย่านธุรกิจ เปิด ‘สาขาเทพารักษ...
...
คอนโดฯ ใหม่สุดฮอต! “ศุภาลัย เซนส์ แจ้งวั...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ