Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
พระเครื่องรุ่นแรกของเมืองไทย (1)
พระเครื่องรุ่นแรกของเมืองไทย (1)
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Tweet
ถ้ามีใครตั้งคำถามว่า พระเครื่องรุ่นใหน เป็นพระเครื่องรุ่นแรกของเมืองไทย ผู้เขียนก็จะตอบโดยไม่ลังเลว่า "พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเครื่องรุ่นแรกของเมืองไทย" ท่านผู้มีเกียรติหลายท่านก็คงจะสงสัยว่า พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระรอด พระนางพญา พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ ซึ่งเป็นพระเครื่องในชุดเบญจภาคีทั้งนั้น สร้างมาตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัย อู่ทอง ที่ใหม่สุดก็จะเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น คือพระนางพญา แล้วเหตุใดจึงให้พระกริ่งคลอง ตะเคียน เป็นพระรุ่นแรกได้
ผู้เขียนก็ต้องขออนุญาตทำความเข้าใจกับคำว่า "พระเครื่อง" และ "พระพิมพ์" ก่อน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำ "พระเครื่อง" ว่า พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่อง คุ้มครองป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคำ พระเครื่องราง) ดังนั้นพระกริ่งคลองตะเคียนจึงเป็น พระเครื่อง เพราะเจตนาในการสร้างและรูปลักษณ์ของพระ ก็เป็นไปตามคำจำกัดความดังกล่าว ส่วนพระรอด พระนางพญา พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณตามที่กล่าว เป็นพระที่พบเจอในเจดีย์เก่า วัดร้าง โดยการตั้งใจบรรจไว้ในกรุ จึงจัดเป็นพระกรุ ทีไม่ได้สร้างเพื่อให้ผู้คนเอาไว้ใช้คุ้มครองตัวในช่วงนั้น (แต่ภายภาคหน้าอาจจะเอามาใช้ได้) เป็นพระที่สร้างเพื่อการบุญ การกุศล หรือสืบทอดพระศาสนา และทำมาจากแม่พิมพ์ จึงได้เรียกพระแบบนี้ว่า "พระพิมพ์" การสร้างพระพิมพ์เพื่อบรรลุกรุเช่นนี้ ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้นมา นิยมสร้างกันเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ แตในศิลาจารึกหลักที่ 42 จารึกไว้ว่า การสร้างพระพิมพ์จะสร้าง เท่าอายุคิดเป็นวัน คนอายุ 75 ปี สร้างพระ 27,500 องค์
พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเครื่องที่สร้างเพื่อให้ผู้คนมีไว้ใช้ในภาวะสงคราม ไม่ใช่ให้เฉพาะทหารนักรบอย่างเดียว พลเรือนของกรุงศรีอยุธยาทุกคนในยามนั้น ก็จะต้องสู้รบด้วย หรือต้องมีความปลอดภัยจากศาสตราวุธทั้งปวง พระกริ่งคลองตะเคียนจึงต้องลงอักขระ เป็นยันต์ทางด้านแคล้วคลาด คง กระพันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ยันต์ นะคงกระพัน นะทรหด เป็นต้น การสร้างพระ แบบนี้ นับเป็นครั้งแรกที่เป็นการรวมพลังของพระพุทธคุณเข้ากับพลังไสยคุณเช่นเดียวกับการสร้างพระกริ่ง แต่พระกริ่งนั้นมีต้นกำเนิดมาจาก "กริ่งพระปทุม" ที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ หรือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ของอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ.1554-1725) และพระกริ่งโดยปกติแล้ว จะทำให้สำหรับบุคคล ชั้นเจ้านาย ไม่ใช่ระดับสามัญชนคนธรรมดา พระกริ่งคลองตะเคียนได้ถูกสร้างขี้นมาโดยมีคติการสร้างเช่นเดียวกับกริ่งพระปทุม แต่ใช้สำหรับสามัญชน โดยใช้แทนเครื่องรางของขลังต่างๆ ได้ ถึงแม้ว่าพระกริ่งคลองตะเคียนจะเป็นพระเครื่อง ที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายนี่เอง แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่า ได้มีการสร้างพระให้ผู้คนมีไว้ใช้แบบพระเครื่อง มาก่อนหน้านี้ในสมัยก่อนๆ ซึ่งมีแต่การสร้างพระ เพื่อบรรจุกรุแบบพระพิมพ์เท่านั้น ดังนั้น พระกริ่งคลองตะเคียน จึงถือว่าเป็น "พระเครื่องรุ่นแรก" ของเมืองไทยได้
นอกจากจะเป็นพระเครื่องรุ่นแรก หรือองค์แรกของเมืองไทยแล้ว พระกริ่งคลองตะเคียนยังมีความเป็นเอกเหนือกว่าพระเครื่องอื่นๆ อีกหลายประการ ประการแรกคือ รูปลักษณ์ ประการที่สองคือ กระบวนการสร้าง ประการที่สามคือ ผู้สร้าง และอีกประการหนึ่งคือ ความเข้มขลังแห่งพลังพุทธคุณ ซึ่งในรายละเอียดของแต่ละประการ ขอต่อในตอนหน้าครับ
อดุลย์ ฉายอรุณ : โทร.08-8696-5994
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“ทักษิณ” พ่อมดการเมือง????...
...
สังคมอุดมการพนัน By นายหวานเย็น...
...
ประธานาธิบดีพันธุ์หมาบ้า...
...
7 วิธีเปลี่ยนผู้ติดตามให้กลายเป็นลูกค้าป...
...
2025 ภาษีที่บิดเบือนกับประวัติศาสตร์ บท...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ