TPL หุ้นร้อนชุมนุมเซียน VI หมื่นล้าน หุ้น High Growth โลจิสติกส์ที่แตกต่าง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

TPL หุ้นร้อนชุมนุมเซียน VI หมื่นล้าน หุ้น High Growth โลจิสติกส์ที่แตกต่าง


ภาพรวมอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์โลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2565-67 ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 3-5% ต่อปี ขณะที่ต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนพุ่งแรง ทำให้ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านการเพิ่มศักยภาพการบริการ การลดต้นทุนเพื่อรักษาความสามารถทำกำไรและผลักดันการเติบโตให้ได้ต่อเนื่อง 

บริษัท ไทยพาร์เซิล จำกัด (มหาชน) หรือ TPL เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีความโดดเด่นในการจัดส่งสินค้าที่บรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภท ภายใต้คอนเซ็ปท์ ส่งหนัก ส่งใหญ่ ส่งทั่วไทย ใช้ TP Logistics” โดยได้เตรียมความพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดบริการ ซึ่งจะมีการเสนอขายหุ้นสามัญที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ไม่เกิน 120 ล้านหุ้นคิดเป็น 22.90% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท โดยกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ในราคาหุ้นละ 3.30 บาท โดยจะเปิดให้จองซื้อหุ้นระหว่างวันที่ 22-23 และ 26 มิถุนายน 2566 และคาดว่าจะสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายว่า TPL หมวดธุรกิจบริการ

สำหรับ TPL เป็นผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าขนาดใหญ่หลากหลายรูปทรง โดยเฉพาะของที่มีน้ำหนักมาก (Overweight) หรือของที่มีขนาดใหญ่ (Oversize) หรือมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เป็นมาตรฐานทั่วไป (Odd size) เช่น กันชนรถ ยางรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น       

เนื่องด้วยสินค้าเหล่านี้มีรูปทรงและน้ำหนักที่หลากหลาย การจัดเรียงจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ปัจจุบันบริษัทให้บริการจัดส่งสินค้าและสิ่งของประมาณ 350,000 - 600,000 ชิ้นต่อเดือน และสามารถให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าทั้งที่เป็นภาคธุรกิจและรายย่อย 

บริษัทมีการปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่องโดยพัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถรองรับการเชื่อมระบบฐานข้อมูลการนำส่งสินค้ากับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ นำระบบติดตามการระบุตำแหน่ง (GPS) มาใช้กับรถบรรทุกขนส่งของบริษัท รวมถึงใช้ระบบติดตามสถานะของการจัดส่งผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้สามารถติดตามสถานะของสินค้าที่จะจัดส่งได้ทุกขั้นตอน   

ผลิตภัณฑ์และการบริการ โดยบริษัทมีการจัดส่งแบบธุรกิจถึงธุรกิจ (B2Bเป็นการให้บริการโดยทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งของลูกค้าหรือเป็นเสมือนส่วนงานหนึ่งขององค์กรต่างๆ ในด้านกิจกรรมขนส่ง  โดยบริษัทจะให้บริการรับสินค้าจากลูกค้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้ขายส่ง รวมถึงหน่วยงานราชการไปส่งยังจุดหมายปลายทาง 

การจัดส่งแบบบุคคลถึงบุคคล (C2Cเป็นการให้บริการจัดส่งโดยที่ลูกค้าจะต้องเป็นผู้นำสินค้าหรือสิ่งของที่ต้องการส่งมาให้แก่บริษัทที่จุดให้บริการซึ่งมีอยู่ 129 แห่งทั่วประเทศ โดยบริษัทมีการเปิดแฟรนไชส์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ 

การจัดส่งแบบธุรกิจถึงบุคคล (B2Cเป็นการให้บริการจัดส่งสินค้าหรือสิ่งของจากภาคธุรกิจเช่นเดียวกับกลุ่ม B2แต่จะเป็นการจัดส่งสู่ลูกค้าปลายทางที่เป็นผู้บริโภคปลายทาง (Customer) แทนการส่งถึงสาขาหรือร้านค้าของกลุ่มธุรกิจต่างๆ  จึงอาจมีจุดหมายปลายทางหลายแห่งในการจัดส่งแต่ละครั้ง โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการด้านการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ (platform online) หรือกลุ่ม E-Commerce

ภายใต้การบริหารงานของ "ภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPL ระบุว่า การระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเงินไปใช้ในการซื้อที่ดินและก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้า และ/หรือจุดให้บริการ ซื้อยานพาหนะ สถานีชาร์จไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ขณะเดียวกันจะมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงชำระหนี้คืนแก่สถาบันการเงิน โดยมีระยะเวลาการใช้เงินภายในปี 2566-67 

"การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ mai เพื่อต้องการที่จะเพิ่มศักยภาพบริการขนส่งให้มากขึ้นผ่านจุดบริการที่จะขยาย และสิ่งที่สำคัญก็คือ การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทำให้มีแผนที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งรถบรรทุก 6 ล้อและรถกระบะ 4 ล้อ โดยเริ่มจากเส้นทางในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้กว่า 50% เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจะช่วยผลักดันความสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งลูกค้าที่ใช้บริการจะสามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงรายงาน ESG ซึ่งส่วนหนึ่งของการลดคาร์บอนเครดิต รวมถึงการยกระดับ TPL ก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่หลากรูปทรงด้วยระบบวาดแผนสู่การเป็นบริษัท Green logistics ในอนาคตอีกด้วย"

ขณะเดียวกัน บริษัทมีเป้าหมายในการดำเนินงานภายใน 3 ปี จะเป็นผู้นำในการให้บริการโลจิสติกส์ที่ครอบคลุม ตั้งแต่การขนส่ง การจัดการด้านคลังสินค้า การกระจายสินค้า รวมถึงให้บริการในการเชื่อมโยงและรับช่วงต่อการขนส่งในแต่ละรูปแบบของการขนส่งสินค้า และสิ่งของจากต้นทางจนถึงจุดหมายปลายทาง โดยสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัท ทำให้มีแผนที่จะลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนสร้างศูนย์คัดแยกและกระจายสินค้าระดับภูมิภาค (Regional Hub) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกและกระจายสินค้า การเพิ่มจุดให้บริการ (Drop Point) แก่ลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการใช้บริการ และการลงทุนในยานพาหนะ ทั้งรถบรรทุก 10 ล้อ และ 6 ล้อ ซึ่งใช้สำหรับการขนส่งในเส้นทางระหว่างภูมิภาค (Line Haul) เป็นหลัก และรถกระบะ 4 ล้อ ซึ่งใช้สำหรับการกระจายสินค้าสู่ผู้รับปลายทาง เพื่อให้บริษัทมีกองยานพาหนะที่สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า หุ้น TPL เป็นหุ้นโลจิสติกส์ที่มีความน่าสนใจการลงทุนในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นอยู่ในธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไรได้ดี มีโอกาสในการเติบโต โดยเฉพาะแผนธุรกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เมื่อสามารถระดมทุนเพิ่มศักยภาพผลักดันการเติบโตได้อย่างชัดเจน และยังเป็นหุ้นที่อยู่ในกระแส Mega Trend ของโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้ระบบการขนส่งด้วยพลังงานสะอาด ดังนั้น TPL พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรม Logistics ของไทยอย่างแน่นอน

นอกเหนือจากเรื่องธุรกิจที่อนาคตสดใสแล้ว อีกประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อไปดูโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ TPL พบว่า มีรายชื่อของนักลงทุนหุ้นคุณค่าหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า VI คือ นายสุระ คณิตทวีกุล ถือหุ้น 20,000,000 หุ้น หรือ 4.95% และนายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี ถือหุ้น 10,000,000 หุ้น หรือ 2.48% ซึ่งทำให้เป็นที่คาดหมายว่า จะการันตีความโดดเด่นของ TPL ได้ เพราะหากไม่ใช่เป็นหุ้นที่มีคุณภาพจริงแล้ว นักลงทุน VI ทั้งสองคงไม่เข้ามาลงทุน



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ