Toggle navigation
วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
ประกัน
ล้อมคอกตึกซื้อประกันก่อสร้างส.วินาศภัยตั้งทีมศึกษา/ค่ายใหญ่จ้องลุย
ล้อมคอกตึกซื้อประกันก่อสร้างส.วินาศภัยตั้งทีมศึกษา/ค่ายใหญ่จ้องลุย
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Tweet
นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมารับทราบถึงเรื่องที่สมาคมฯ เสนอต่อที่ประชุมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากอาคารถล่มที่มีม.ล. ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานให้ภาครัฐออกกฎหมายกำหนดให้โครงการก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อประชาชนต้องทำประกันภัยทุกโครงการหลังเกิดกรณีตึก 6 ชั้นที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่จ.ปทุมธานีถล่ม ซึ่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากนั้นไม่ได้ทำประกันภัยใดๆ ไว้ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทน
“ปัจจุบันกฎหมายกำหนดสถานบริการสาธารณะต่างๆ ต้องทำประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกที่เข้าไปใช้บริการ แต่ไม่ได้กำหนดให้โครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างต้องทำประกันภัยคุ้มครองบุคคลที่ 3 ต่อไปอาจจะกำหนดให้ทุกโครงการที่กำลังก่อสร้างต้องทำประกันภัยบุคคลที่ 3 ด้วยอาจจะกำหนดตึก 5 ชั้นขึ้นไปและอาจจะไม่ใช่แค่ตึกอาจจะขยายไปทุกกิจการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างถนน เป็นต้น”
ปัจจุบันหากเป็นโครงการขนาดใหญ่ระดับ 100 ล้านบาทขึ้นไปจะทำประกันภัยการก่อสร้างไว้ซึ่งจะคุ้มครองทุกอย่างทั้งตัวตึก ลูกจ้างและบุคคลภายนอกหากเข้าไปในไซต์งานแล้วเกิดความเสียหาย อาทิ หินหล่นใส่หัว เป็นต้น ขณะที่โครงการขนาดเล็กระดับ 20-100 ล้านบาทไม่มีการทำประกันภัยใดๆ ดังกรณีตึก 6 ชั้นที่ถล่มซึ่งผู้ที่ได้รับความเสียหายคือคนงานซึ่งปกติตึกทั่วไปจะมีความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานอยู่แล้วหรือไม่เจ้าของโครงการอาจจะทำประกันภัยเพิ่ม อาทิ ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองคนงาน เป็นต้น หากเกิดความเสียหายประกันภัยจะจ่ายชดเชยให้แทนเจ้าของโครงการ
นายอานนท์ กล่าวว่า ธุรกิจประกัน ภัยมีแบบประกันพร้อมที่จะเข้ารองรับนโยบายของภาครัฐอยู่แล้ว อัตราเบี้ยประกันภัยจะล้อไปกับความคุ้มครองยิ่งคุ้มครองกว้าง เบี้ยประกันจะสูง แต่หากอยากได้เบี้ยประกันภัยที่ไม่แพงมากก็สามารถดีไซน์แบบประกันใหม่ออกมาได้ เช่น ตัดความคุ้มครองตัวตึกออกไปคุ้มครองเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกอย่างเดียวจะทำให้เบี้ยประกันถูกลงหรือสามารถแยกซื้อเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอย่างเดียวกันก็ได้
สำหรับอัตราเบี้ยประกันภัยการก่อสร้าง นายอานนท์กล่าวว่า หากรวมความคุ้มครองทุกอย่างเบี้ยประกันเริ่มต้น 0.1% ของวงเงินคุ้มครองหรือทุนประกัน สมมติทุนประกัน 1 ล้านบาท เบี้ยประกัน 1,000 บาท แต่มีข้อยกเว้นหลายอย่าง
นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายเมื่อเจ้า ของโครงการมายื่นขออนุญาตก่อสร้างต้องมีกรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้แนบมาด้วย โดยสมาคมฯ เตรียมตั้งคณะทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อศึกษาเรื่องนี้
นางสาวชูพรรณ โกวานิชย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.เมืองไทยประกันภัย กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทรับประกันการก่อสร้างอาคารสูงต่างๆ อยู่แล้ว ส่วนใหญ่เน้นคอนโดมิเนียมซึ่งหากขอสินเชื่อกับธนาคารจะกำหนดให้ต้องทำประกันภัยอยู่แล้ว เบี้ยประมาณ 70-80 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ตึกถล่มที่จ.ปทุมธานีมีลูกค้าสอบถามเข้ามาเยอะ ซึ่งหากภาครัฐจะออกกฎหมายกำหนดให้โครงการต่างๆ ต้องทำประกันภัยระหว่างการก่อสร้างเป็นโอกาสของบริษัทที่จะเข้าไปขยายตลาด เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการตั้งแต่ 1% ของทุนประกันภัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
เลขาธิการ คปภ. ปลุกพลังตัวแทนประกันชีวิต...
...
กรุงเทพประกันภัยจับมือโรงพยาบาลบำรุงราษฎ...
...
คปภ. ประชุมร่วม BDI ธุรกิจประกันภัย หารื...
...
คปภ. จับมือสมาคมประกันวินาศภัยและหอการค้...
...
เมืองไทยประกันชีวิต จัดพิธีมอบรางวัลเกีย...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ