Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
ประกัน
ประกันวินาศภัย
ประกันวินาศภัย
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556
Tweet
การประกันวินาศภัยในประเทศไทย หลังจากผ่านเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นวิกฤติครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน นับจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ศูนย์การค้าบริเวณราชประสงค์ในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กับเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความสูญเสียในเรื่องของค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยที่มีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่ภาคธุรกิจยังต้องติดตามและดำเนินการกันต่อไป
ความเคลื่อนไหวของการประกันวินาศภัยในแต่ละประเภทก็ยังคงมีการพัฒนาเพื่อสร้างความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ รวมไปถึงการต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศไทย ซึ่งในเรื่องของการประกันภัยคงต้องมีการปรับตัวกันขนาดใหญ่ ต่อไปนี้คงเป็นการรายงานสถานการณ์ของการปรับตัวในธุรกิจประกันภัย
การประกันภัยทรัพย์สิน หรือที่รู้จักกันดีในเรื่องของการประกันอัคคีภัย นับตั้งแต่มหาอุทกภัย เมื่อปลายปี 2554 การปรับปรุงตัวกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านอยู่อาศัย และสำหรับตัวธุรกิจขนาดต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จ โดยในขั้นแรกการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยให้มีความคุ้มครองของกรม-ธรรม์ภัยพิบัติรวมอยู่ด้วย เกิดปัญหาทั้งในการทำงานและการชี้แจงเพื่อความเข้า ใจ จนบัดนี้ก็ยังรอกันอยู่ว่ากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยจะออกมาในรูปใด เพราะท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่สรุปสักที ทั้งในส่วนของคณะทำงานและในส่วนกองทุนประกันภัยพิบัติเอง
การประกันภัยทางทะเลและขนส่งทางบก การปรับปรุงและพัฒนาตัวกรม-ธรรม์ เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะมีผลทำให้การคมนาคมในระหว่าง ประเทศสมาชิก AEC ด้วยกันเอง ทำให้ต้องมีการพัฒนากรมธรรม์เพื่อให้ความ คุ้มครองตลอดจนเงื่อนไขของกรมธรรม์ประเภทนี้มีความเหมาะสมที่จะรองรับ ความต้องการของ ผู้เอาประกันภัย เพื่อป้องกันความเสียหายต่อธุรกิจของแต่ ละราย ซึ่งคณะทำงานในเรื่องนี้มีความคืบหน้าไปพอสมควร
การประกันภัยเบ็ดเตล็ด มีเรื่องราวที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงทั้งในเรื่องความคุ้มครอง เงื่อนไขกรมธรรม์ตลอดจนพัฒนากรมธรรม์ใหม่ๆ เพื่อรองรับกับความต้องการของผู้เอาประกันภัย ความยากอยู่ตรงที่รูปแบบที่หลากหลายและความเสี่ยงที่ถูกจัดไว้ในการประกันภัยประเภทนี้มีจำนวนมากมาย ซึ่งบางกรมธรรม์ก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ความหลาก หลายแห่งการประกันภัยประเภทนี้ทำให้คณะทำงานที่รับผิดชอบเจอกับปัญหา ของความหลากหลายแห่งกรมธรรม์และการจัดประเภทของความคุ้มครอง และ รายละเอียดของเงื่อนไขกรมธรรม์ ซึ่งหากจะยังไม่สามารถพัฒนาได้ครบถ้วนก็คงเป็นเพราะความหลากหลายและจำนวนอันมากมายแห่งการประกันภัยประเภทนี้นั่นเอง
การประกันภัยรถยนต์ แทบจะกล่าวได้ว่ายังไม่ต้องไปพิจารณาถึงการปรับ ปรุงกรมธรรม์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ เพื่อรองรับ AEC แต่อย่างใด เพราะลำพังการปรับปรุงทั้งในส่วนของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยและเงื่อนไขของกรม- ธรรม์ประกันภัย ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงและความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยก็ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
ประกอบกับในส่วนของการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่ความคุ้มครอง ของกรมธรรม์ประเภทนี้ในประเทศไทยไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของหลักการประกันภัย ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาค บังคับของเพื่อนบ้านรอบด้านประเทศไทยได้ นี่ยังไม่รวมไปถึงการที่มีหน่วยงานหลายๆ หน่วยงาน พยายามยื่นมือเข้ามาขอมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เรื่องอย่างนี้คงต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาต่างๆ ก่อนกระมัง จึงจะสามารถไปดำเนินการเรื่องอื่นๆ ได้
สถานการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาโดยสังเขปคงเป็นปัญหาคาใจของใครหลายๆ คน ทั้งในภาคธุรกิจประกันวินาศภัยเอง และในส่วนงานอื่นๆ เรื่องราวเหล่านี้ยัง คงเป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครจะสามารถชี้แจงแถลงไขเพื่อสร้างความเข้าใจได้อย่างชัดเจน น่าจะเป็นภาระของสมาคมประกันวินาศภัยไทย ที่เปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว มีคณะกรรมการชุดใหม่แล้วเป็นคนชี้แจงแถลงข้อข้องใจดีไหมครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
คปภ. - สศก. สร้างนิยามใหม่ของประกันภัยพื...
...
คปภ. สศก. ประชุมคณะกรรมการความร่วมมือพั...
...
สำนักงาน คปภ. จัดสัมมนาอนุญาโตตุลาการที่...
...
เลขาธิการ คปภ. เน้นย้ำบทบาทในการกำกับดูแ...
...
สำนักงาน คปภ. ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือด...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ