Toggle navigation
วันอาทิตย์ ที่ 4 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
ข่าวเด่น
‘ชาเขียวไทย’รุกตลาดอาเซียน‘โออิชิ-อิชิตัน’ท้าชนนอกบ้าน
‘ชาเขียวไทย’รุกตลาดอาเซียน‘โออิชิ-อิชิตัน’ท้าชนนอกบ้าน
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Tweet
ดูเหมือนว่านาทีนี้ตลาดเออีซีจะเริ่มเดือดไม่แพ้ตลาดเมืองไทย เมื่อสองยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มชาเขียวอย่าง “โออิชิ” กับ “อิชิตัน” หันมาบุกตลาดในประเทศแถบอาเซียนอย่างจริงจัง ด้วยเป็นเพราะจำนวนประชากรในแถบอาเซียนที่สูงถึง 600 ล้านคน และมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะ นี้อยู่ระหว่างการศึกษาตลาดเครื่องดื่มอื่นๆ ในเครือเพื่อเข้าไปเจาะตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยจะเข้าไปบุกตลาดมาเลเซียเพิ่มเติม หลังจากก่อนหน้านี้ได้ส่งออกชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิเข้าไปทำตลาดแล้ว และยังมีแผนเข้าไปเจาะตลาดสิงคโปร์ โดยจะใช้เครื่องดื่มประเภทพรีเมี่ยมทำตลาดดังกล่าว และจะเข้าไปทำตลาดเครื่องดื่มในพม่าต่อไป ส่วนปีหน้ามีแผนจะส่งออกสินค้าเครื่องดื่ม และจะมุ่งเน้นตลาดในประเทศแถบอาเซียนมากขึ้น ได้แก่ พม่า เวียดนาม มาเล-เซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ “เอฟ แอนด์ เอ็น” มีเครือข่ายแข็ง-แกร่ง โดยเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือไทยเบฟฯ แม้ว่าในปัจจุบันรายได้จากต่างประเทศของบริษัทจะมีสัดส่วนไม่ถึง 10% ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะสามารถผลักดันรายได้จากสัดส่วนดังกล่าวบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาตลาดในประเทศเวียดนาม ส่วนประเทศลาวและกัมพูชาได้เริ่มนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายแล้ว และจะเริ่มทำกิจกรรมการตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมองหาพันธมิตรที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกันในต่างประเทศเพิ่มขึ้น อาทิ บรูไน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ บริษัทอยู่ในระหว่างการเจรจาเตรียมเข้าซื้อกิจการเครื่องดื่มอีกหลายแบรนด์ แต่ยังไม่สามารถสรุปการเจรจาที่ชัดเจนได้ เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น เพราะครึ่งปีแรกที่ผ่านมาภาพรวมรายได้เติบโตลดลง 10% ทำให้ครึ่งปีหลังต้องเร่งหากลยุทธ์เพื่อสร้างยอดขาย รวมถึงยังต้องสร้าง แบรนด์โออิชิให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น รวมทั้งจัดแคมเปญทางการตลาดเพื่อผลักดันให้รายได้รวมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตันกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงถึง 250 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมดในอาเซียน 600 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน ที่พร้อมสำหรับการเปิดรับเครื่องดื่มใหม่ๆ และมีกำลังซื้อสูง ประเทศตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรอากาศร้อนตลอดทั้งปี มีวัฒนธรรมดื่มชาเป็นประจำคู่กับทุกมื้ออาหาร และทุกๆ กิจกรรมระหว่างวัน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อการทำตลาดเครื่องดื่มอย่างมาก “เฉพาะตลาดชาพร้อมดื่มในประเทศอินโดนีเซีย มีมูลค่าสูงถึง 73,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% การเข้าไปทำตลาดของอิชิตันในครั้งนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะชาพร้อมดื่ม เพราะอิชิตันสามารถผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแทบทุกชนิด เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของคนอินโดนีเซีย ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนม” สำหรับการทำตลาดอินโดนีเซีย จะอยู่ภายใต้บริษัท อิชิตัน อินโดนีเซีย จำกัด มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายชาพร้อมดื่มและเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เป็นความร่วมมือกันระหว่างบริษัท อิชิตันกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กับบริษัท พีที อาทรี่ แปซิฟิค จำกัด หรือเอพี ประเทศอินโดนีเซีย ถือหุ้นร่วมกันในสัดส่วน 50:50 (50% จากอิชิตัน และ 50% จากเอพี) โดยเอพีเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างพีที ซิกมันทรา อัลฟินโด้ ประเทศอินโดนีเซีย และมิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เบื้องต้นจะเริ่มจากการจำหน่ายเครื่องชาเขียวก่อน เนื่องจากในประเทศอินโดนีเซียตลาดชาเขียวเติบโตกว่า 20% สูงกว่าตลาดชาพร้อมดื่มที่มีอัตราการเติบโต 15% แม้ว่าสัดส่วนของตลาดชาเขียวจะยังเล็กอยู่ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 13% เมื่อเทียบกับตลาดชาดำที่มีสัดส่วนถึง 87% จากตลาดรวมชาพร้อมดื่ม 73,000 ล้านบาท นั่นเป็นเพราะชาเขียวเพิ่งเริ่มทำตลาดในประเทศอินโดนีเซียมาได้เพียง 2 ปี โดยขวดเพ็ตจะมีอัตราการเติบโตสูงสุด ขณะที่ขวดแก้วมีสัดส่วน 75% และปีนี้ติดลบ ทั้งนี้ เครื่องดื่มอิชิตันมีกำหนดกระจายตลาดในประเทศอินโดนีเซียประมาณไตรมาส 1 ของปี 2558 ตั้งเป้ามีสินค้าอย่างน้อย 2 รสชาติออกวางจำหน่ายภายในปีแรก เบื้องต้นจะใช้วิธีว่าจ้างผลิตในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นโรงงานของไต้หวัน และจากโรงงานของอิชิตันเอง ทำให้บริษัทไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างโรงงานผลิตด้วยตัวเองในช่วงเริ่มต้น “เมื่อทำการตลาดเต็มรูปแบบ และได้รับผลตอบรับตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว นั่นคือ ยอดขาย 1,000 ล้านบาท ถึงจะเริ่มก่อสร้าง และติดตั้งสายการผลิตแรกของโรงงาน ทั้งนี้ ยังไม่มีแผนขยายตลาดไปยังประเทศอื่น เพราะต้องการจะทำตลาดอินโดนีเซียให้ประสบความสำเร็จก่อน ถ้าไม่สำเร็จ จะไม่ขยายไปสู่ประเทศที่ 2 โดยตั้งเป้ายอดขายปีแรกไว้ที่ 1,000 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 2,500 ล้านบาท ในปีที่ 2 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี” อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายภายใน 5 ปีไว้ที่ 25,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ในประเทศ 15,000 ล้านบาท และอินโดนีเซีย 10,000 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งของ อิชิตันในประเทศไทยในตลาดชาพร้อมดื่ม 7 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 45% โออิชิ 37% เพียวริคุ 8% ลิปตัน 4% จากตลาดรวมชาพร้อมดื่ม 16,500 ล้านบาท “การขยายตลาดไปยังต่างประเทศ เราไม่ได้ดูแค่ตลาดเท่านั้น แต่ดูเรื่องของพาร์ตเนอร์ด้วย อย่างเอพีเองก็เป็นบริษัททำธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย สามารถนำสินค้าของอิชิตัน อินโดนีเซียเข้าสู่ตลาดได้ทันที ทั้งโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ และร้านเครื่องดื่มรายย่อยกว่า 10,000 สาขาทั่วประเทศ ส่วนมิตซูบิชิ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับเอพีก็มีความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายการลงทุน” นายตัน กล่าวในตอนท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
กรมทางหลวงเปิดวิ่งฟรี! มอเตอร์เวย์ “บางใ...
...
หมอประกิตเตือน ! อย่าปลุกผีภาษีบุหรี่ 3 ...
...
มสส.-สสสย.สรุปบทเรียนและก้าวต่อไปของกฎหม...
...
กทพ. ชี้แจงกรณี ก้อนปูนตกใส่รถผู้ใช้ทางไ...
...
กรมทางหลวงเปิดวิ่งฟรี ! มอเตอร์เวย์บางให...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ