ชูผักพื้นบ้านจำกัดโซเดียม

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ชูผักพื้นบ้านจำกัดโซเดียม


ส้มตำ ข้าวขาหมู ข้าวกะเพราไข่ดาว ข้าวยำน้ำบูดู แกงอ่อม หรือแม้แต่เมนูขนมปัง ขนมเค้ก ขนมกรุบกรอบ ซึ่งเป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบแต่เชื่อหรือไม่ว่า เมนูที่กล่าวมาจัดเป็นเมนูที่มีโซเดียมแฝงเป็นจำนวนมาก เรียกว่า ทั้งของคาว ของหวาน ถ้าไม่ระวังการรับประทานให้ดี ร่างกายเราจะได้รับโซเดียมมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งโซเดียมนั้นเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดโรค NCDs จะดีหรือไม่ถ้ามีผักพื้นบ้านที่เพิ่มลดอร่อย ช่วยลดโซเดียมได้อีกด้วย

***โซเดียมคืออะไร

ในเวที โครงการเวทีแลกเปลี่ยนความรู้วิถีใหม่ ครั้งที่2 หัวข้อ “โซเดียมคืออะไร และเราสามารถลดโซเดียมได้อย่างไร” จัดโดย เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ,กรมควบคุมโรค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) น.อ.หญิง แพทย์หญิงวรวรรณ ชัยลิมปมนตรี  เลขาธิการ เครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง มีทั้งในธรรมชาติและสารสังเคราะห์ เป็นที่ทราบกันดีว่า โซเดียมจะอยู่ในรูปแบบเกลือ เครื่องปรุงรสต่างๆ ผงฟู เบคกิ้งโซดา เป็นต้น

ประโยชน์ของโซเดียม คือ ควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ โซเดียมจะควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมและโปแตสเซียม,ช่วยในการทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ และช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซค์ออกจากระบบส่งเสริมสุขภาพของเลือด น้ำเหลืองให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

นอกจากนี้โซเดียมยังยังช่วยควบคุมสมดุลของเกลือแร่ ,ระบบความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และช่วยดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก

โซเดียมสามารถกำจัดออกได้ทางไตในรูปแบบของปัสสาวะ ทางเหงื่อ (น้อยมาก) และอุจจาระ(ในภาวะท้องเดินและอาเจียนรุนแรง)

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่คนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน(กินเกลือ 9.1 กรัมต่อวัน)เกินกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเกือบ 2 เท่า ”น.อ.หญิง แพทย์หญิงวรวรรณ

นอกจากนี้ เลขาธิการ เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ระบุว่า อาหารทะเลจะมีโซเดียมอยู่ในตัวอยู่แล้ว และอาหารแปรรูป เช่นไส้กรอก เบคอน จะมีโซเดียมแฝงเยอะมาก โดยที่อาหารเหล่านั้นไม่มีรสเค็ม การบริโภคโซเดียมมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคใน กลุ่มโรคNCDs

*** เผยวิธีกำจัดโซเดียมแบบไทยๆ

อาจารย์จันจิดา งามอุไรรัตน์  หัวหน้าโครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม กล่าวว่า โปแตสเซียมจะทำงานช่วยลดโวเดียมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล ดังนั้นวิธีการที่จะกำจัดโซเดียมแบบไทยๆคือ การกินผักให้ได้ 400 กรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2ส่วน ซึ่งการกินผักผลไม้อย่างเพียงพอจะทำให้ร่างกายได้รับโปแตสเซียมเพียงพอเช่นกัน ซึ่งการกินผักพื้นบ้าน  ผลไม้ต้องกินให้หลากสี กินตามฤดูกาลเพื่อลดโอกาสในการรับสารเคมีตกค้าง

สรุปได้ว่า การได้รับโปแตสเซียมจากผัก ผลไม้อย่างเพียงพอจะช่วยลดผลเสียจากการได้รับโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้โปแตสเซียมมีมากในผักใบเขียว ผลไม้ ได้แก่ กล้วย มะละกอสุก ลำไย ขนุน น้ำมะพร้าว

อาจารย์จันจิดา กล่าวว่า เราสามารถใช้ผักพื้นบ้านเพิ่มความอูมิ(รสอร่อย) แทนเครื่องปรุงรสได้ เพื่อลดการรับโซเดียมเกินความจำเป็น อาทิ ผักไชยา หรือ ชายา หรือ คะน้าเม็กซิกัน  จะมีแคลเซียมสูง ใช้ใบไชยาผสมผักอื่นนๆ หรือใช้ใบตากแห้งป่นแทนผงชูรส  สามารถใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น จับฉ่าย ผัดซีอิ๊ว ผัดน้ำมันหอย ใบไชยาอบชีส แต่มีข้อควรระวังคือ ห้ามกินดิบโดยเด็ดขาด

ใบหม่อน ใช้ใบผสมผักอื่นนๆ หรือใช้ใบตากแห้งป่นแทนผงชูรส  ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ไข่เจียว แกงต้มต่างๆ ชุบแป้งทอด สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ข้อควรระวัง ห้ามกินติดต่อกันนาน

นอกจากนี้ยังมีเมนูน้ำผักผลไม้พื้นบ้าน ด้วยการใช้ผักที่กินดิบได้ สะอาด ปลอดภัย เติมความหวานและเนื้อสัมผัสด้วยกล้วยต่างๆ และใช้ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น เสาวรส มะนาว มะเฟือง สับปะรด กลบกลิ่น และเพิ่มความหอม ช่วยระบบย่อยด้วยสารพัดผักสมุนไพร เช่น สะระแหน่ โหระพา มินต์ กะเพรา

“สิ่งสำคัญการรับประทานผัก ผลไม้ จะต้องล้างทำความสะอาด อย่ากินผักชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆกัน ควรกินผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล เพื่อนลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้าง”

*** “อ.ยิ่งศักดิ์” โชว์เมนูลดเค็ม

นอกจากนี้ ดร.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ ได้มาโชว์การทำ “ข้าวตังหน้าต้มข่าไก่”เมนูลดเค็ม โดยกล่าวว่า บางครั้งการรับประทานอาหารที่อร่อยมักจะทำลายสุขภาพ ดังนั้นตนจึงจำเป็นต้องปรึกษากับนักกำหนดอาหาร เรารู้ว่าอาหารเค็มไม่ดีต่อไต ในเมนูที่จะทำวันนี้ “ข้าวตังหน้าต้มข่าไก่” จากความตังหนั้งแบบเดิมใช้เต้าเจี้ยวเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเต้าเจี้ยวจะมีรสเค็ม เราเปลี่ยนมาเป็นต้มข่าไก่รสเค็ม ด้วยการใช้เนื้อไก่ โดยแนะนำว่าการใช้เนื้อไก่หรือหมูสับควรจะสับเองเพราะจะมีไขมันน้อยกว่าซื้อที่สับแล้ว นอกจากนี้การใช้สมุนไพรไทย จะเพิ่มรสอูมามิให้กับอาหาร อย่างหอมแดงที่ใส่ในวันนี้หอมแดงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยระบบทางเดินทางใจ ดังนั้นการทำอาหารให้อร่อยเราจะต้องรู้จักวิธีการปรุง

โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเช่นกัน และเป็นสาเหตุขอการเกิดโรคNCDs ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ปลอดโรค ผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องรู้จักการเลือกบริโภคอาหาร และเลือกที่จะบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้ไตของเราจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก และปลอดจากโรคเรื้อรังต่างๆ



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ