“สมาคมเพื่อนโรคไตฯ”เตือนภัยใกล้ตัวจาก ขนมขบเคี้ยว หวั่นเด็กไทยเป็นโรคไต ก่อนวัยอันควร

วันพฤหัสบดีที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2564

 “สมาคมเพื่อนโรคไตฯ”เตือนภัยใกล้ตัวจาก ขนมขบเคี้ยว หวั่นเด็กไทยเป็นโรคไต ก่อนวัยอันควร


เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ที่สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ซอยวัฒนโยธิน(ราชวิถี7)เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเต็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและมูนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการติดตามปริมาณโซเดียมในอาหารพร้อมบริ โภคและกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการรณรงค์ลดเค็ม ลดโรค สุ่มสำรวจอ่านฉลากค่าโซเดียมกลุ่มขนมขบเคี้ยว จำนวน 400 ตัวอย่าง ได้จัดแถลงข่าวเพื่อผลักดันให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการอ่านฉลากและเตือน ภัยใกสัตัวจากขนมขบเคี้ยว หวั่นเด็กไทยเป็นโรคไตก่อนวัยอันควร เน้นอ่านฉลากก่อนเลือกบริโภค โดยมีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อให้ผู้บริโภคต้องอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อเลี่ยงภาวะไตวาย  2.เพื่อให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อนำไปสู่การลคปริมาณโซเดียมในกลุ่มขนมขบเคี้ยวและผู้บริ โภคเข้าถึงได้ง่าย และ 3 เพื่อโน้มน้ำาวให้ผู้ประกอบการลดปริมาณ ไซเดียมในกลุ่มขนมขบเคี้ยว

นายธนพลธ์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยปัจจุบันขนมขบเคี้ยวมีให้เลือกซื้อ เลือกทานมากมายด้วยหน้าตาและสีสันที่น่ารับประทานรสชาติอร่อย บางชนิดมีของเล่นแถมให้ในซอง ซึ่งขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่มักทำจากแป้ง น้ำตาล ไขมัน ล้วนให้เพียงพลังงานแต่คุณค่าทางโภชนาการต่ำ แต่เด็กๆ กลับชอบรับประทานมากกว่าอาหารมื้อหลัก เป็นสาเหตุที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพ และทำให้การเจริญเติบโตช้าลง อีกสิ่งหนึ่งที่พึงระวังนั่นก็คือ โซเดียมในขนม หากบริโภคมากเกินไปจะเกิดโทษและอันตรายจากขนมเหล่านี้ได้ ดังเช่น โรคอ้วน ฟันผุ โรคไต โรคความคันโลหิตสูงโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น

ด้านนางสาวศศิภาตา ผาตีบ ผู้สำรวจและนักวิจัย สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลสุ่มสำรวจฉลากโภชนาการในกลุ่มขนมขบเคี้ยว ประจำปี 2564 เริ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2564 จำนวน 400 ตัวอย่าง ในซองผลิตภัณฑ์ ประกอบไปด้วย ฉลากอาหาร  ฉลากโภชนาการ (แบบเต็มและแบบย่อ) และฉลากโภชนาการแบบ GDA มีบางตัวอย่างที่ไม่มีวันผลิตแต่มีวันหมดอายุระบุไว้ในซอง

และใน 400 ตัวอย่าง พบหนึ่งตัวอย่างคือประเภทถั่วและนัตไม่มีวันผลิต ไม่มีวันหมดอายุ ข้อมูลในฉลากโภชนาการกับฉลาก GDAไม่ตรงกัน วิธีการอ่านฉลากปริมาณโซเดียมในขนมอย่างง่ายๆ คือการดูที่ฉลากข้อมูล โภชนาการ ในทุกๆ ถุงขนมจะมีปริมาณโซเดียมบอกไว้เป็นหน่วยมิลลิกรัม แต่สิ่งที่ต้องสังเกตคือปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งหมายถึงการบริโภคใน 1 ครั้ง สำหรับขนมห่อใหญ่ที่สามารถกินได้หลายวัน ฉลากข้อมูลโภชนาการอาจเขียนว่า หนึ่งหน่วยบริโภค: 1/2 ซอง (30 กรัม) หมายความว่าขนมถุงนี้กินได้ 2 ครั้ง แต่หากกินหมดภายในครั้งเดียว โซเดียมที่ได้รับก็จะต้องคูณเพิ่มเข้าไป การดูปริมาณโซเดียมบนถุงขนมจึงต้องดู 'หนึ่ง

หน่วยบริโภค' ด้วย เพราะโซเดียมที่เราเห็นว่าน้อยนั้นแท้จริงแล้ว อาจมีปริมาณมากกว่าที่คิด ซึ่งปริมาณโซเดียมทั้งหมดจะแสดงบนฉลาก GDA ในส่วนของผลสุ่มสำรวจปริมาณโซเดียมในฉลากโภชนาการกลุ่มขนมขบเคี้ยว จำนวน 400 ตัวอย่าง จำแนกออกเป็น 9 ประเภท พบว่า มีปริมาณโซเดียมดังนี้ 1) ประเภทมันฝรั่ง จำนวน 69 ตัวอย่าง มีปริมาณ โซเดียมตั้งแต่ 80-1,080 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 2) ประเภทข้าวโพด จำนวน 20 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 25 - 390 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 3) ประเภทข้าวเกรียบและขนมอบกรอบ จำนวน 104 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 45 - 560 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 4) ประเภท สาหร่าย จำนวน 19 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 0 - 510 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 5) ประเภทถั่วและนัต จำนวน 72 ตัวอย่าง มีปริมาณ โซเดียมตั้งแต่ 5 - 380 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 6) ประเภทปลาเส้น จำนวน 36 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 180 - 810 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 7) ประเภทแครกเกอร์และบิสกิต จำนวน 38 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 45 - 230 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 8)ประเภทเวเฟอร์ จำนวน 27 ตัวอย่าง มีปริมาณ โซเดียมตั้งแต่ 25 - 150 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และ 9)ประเภทคุกกี้ จำนวน 15 ตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 65 - 220 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

ด้านนายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้บริ โภค รู้เท่าทันการอ่านฉลากและเตือนภัยใกล้ตัวจากขนมขบเคี้ยว หวั่นเด็กไทยเป็นโรคไตก่อนวัยอันควร เน้นอ่านฉลากก่อนเลือกบริ โภค ในส่วนของข้อเสนอจากผลการสำรวจต่อผู้บริโภค 1. เพื่อให้ผู้บริโภคต้องอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อเลี่ยงภาวะเสี่ยงไตวายตามมา ข้อเสนอต่อผู้ประกอบการ  เพื่อให้ผู้ประกอบการลดปริมาณโซเดียมในกลุ่มขนมขบเคี้ยว 2) ให้ผู้ประกอบการจัดทำฉลากให้สู้บริโภคเห็นและตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ข้อเสนอต่อหน่วยงาน  เพื่อให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการลดปริมาณโซเคียมในกลุ่มขนมขบเคี้ยว เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการเก็บภาษี โซเดียม เน้นสร้างแรงจูงใจในการปรับสูตรอาหารในทางธุรกิจ  ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผลักดันฉลากสีสัญญาณไฟจราจร เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการอ่านฉลาก

ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ อาจารย์แพทย์ประจำสาขาวิชาโรคไต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า เด็กไทยกินเค็มเกินเกือบ 5 เท่า เป็นสาเหตุของการเจ็บป้วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ในอนาคตได้ ซึ่งในปัจจุบันสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ยังมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่มีขนาดอวัยวะที่เล็กกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะไตและหัวใจ ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงหากเด็กได้รับโซเดียมจากอาหารที่มากเกินความต้องการติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ การติดกินเค็มจนเป็นนิสัยตั้งแต่เด็กก็ย่อมมีแนวโน้มที่ลิ้นจะติดเค็มไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ ปริมาณโซเดียมเฉถี่ยที่เด็กรับประทานอยู่ที่ 3,194 มิลลิกรัม/วัน แต่ในขณะที่ปริมาณ โซเดียมที่เด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี ควรได้รับ เท่ากับ 325-950มิลลิกรัม อายุ 9-12 ปี เท่ากับ 400-1, 17 มิลลิกรัม และอายุ 3-เ5 ปี เท่ากับ 500-1,500 มิลลิกรัมเท่านั้น เนื่องจากโซเดียมสามารถกระตุ้นน้ำลาย ทำให้เด็กอยากอาหารมากขึ้น ยิ่งกินก็ยิ่งติดเค็ม

การสำรวจปริมาณโซเดียมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวในครั้งนี้ ถือเป็นเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก และหากมีการผลักดันการเก็บภาษีเกลือสำเร็จและทางผู้ผลิตสามารถปรับ สูตรลดเกลือโซเดียม และเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกโซเดียมต่ำออกสู่ตลาคมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งทางผู้ผลิตและผู้บริ โภค ซึ่งในบางประเทศ เช่น ฮังการี อาหารที่มีเกลือไม่เกินเพดานที่กำหนด จะได้รับการยกเว้นเสียภาษีทุกฝ่ายจะได้ประ โยชน์ร่วมกัน ผู้บริโภคก็ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเมื่อลดการเจ็บป้วยได้ประเทศก็สามารถช่วยชาติประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อีกด้วย

ด้านนางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร จากผลสรุปการอ่านฉลากโภชนาการและฉลาก GDA ในกลุ่มขนมขบเคี้ยว ของสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย นั้นพบว่าฉลากมี 2 ประเภท 1. ฉลากข้อมูลโภชนาการ ที่บอกข้อมูลต่อ 1 หน่วยบริโภค 2.ฉลาก GDA บอกข้อมูลต่อ 1 บรรจุภัณฑ์ ซึ่งผู้บริโภคจะเลือกทานอาหารต้องอ่านฉลากทั้ง 2 ประเภทเพื่อตัดสินใจ และอาจเกิดความไม่เข้าใจและสับสนได้ ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือแสดงฉลากตามความจริงและสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้อย่างถูกต้องและพอเพียง ไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าและบริการโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องผลักดันนโยบายเรื่องฉลากสีสัญญาณไฟจราจร เขียว เหลือง แดง บนฉลากอาหาร เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อโดยการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้บริ โภค และสนับสนุนเผยแพร่แอพพลิเคชั่นฟู้ดช้อยส์ (FoodChoice) สแกนก่อนกินเมื่อสแกนบาร์โค้ดจากผลิตภัณฑ์ ข้อมูลบนฉลากโภชนาการจะถูกแสดงในรูปแบบสีเขียว เหลือง แดงที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจ เปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการจัดเรียงข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ เช่น พลังงาน น้ำตาล โซเดียม ไขมัน ไขมันอิ่มตัว และโปรตีน และเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุหลักสูตรเรื่องการอ่านฉลากให้กับเด็ก เพื่อลดภาวะโรคเรื้อรังในเด็ก

นางสาวทิพยาเนตร ดวงจันทร์ ผู้ป่วยโรดไตและรักษาการประธานเครือายเพื่อนช่วยเพื่อนโรคไตจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ดิฉันฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมา 9 ปี ได้ทำงานร่วมกับหน่วยบริการและหน่วยงานในพื้นที่ ในด้านสุขภาพ การส่งเสริมป้องกันโรค ด้วยปัจจุบันเราพบว่ามีผู้ปวยรายใหม่ที่อยู่ในกลุ่มเด็กเพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มโรค NCD: ที่มีต้นเหตุมาจากหลายๆด้าน โดยเฉพราะพฤติกรรมการกินเค็ม จึงออกมาเดือน ในกลุ่มผู้ปกครองและเค็ก ก่อนเลือกซื้อขนมนอกจากซองที่สวยงาม ของแถมในซอง ให้เน้นการอ่านฉลาก ตามคำแนะนำจากผู้สำรวจและนักวิจัยของสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ในข้างต้น



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ