Toggle navigation
วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
กทม.- สังคม - การศึกษา - CSR
ตลาดนัดจตุจักรหลังผู้ค้าชนะคดีร.ฟ.ท.
ตลาดนัดจตุจักรหลังผู้ค้าชนะคดีร.ฟ.ท.
วันพฤหัสบดีที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Tweet
กลายเป็นประเด็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในอีกวาระหนึ่ง พลันที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอน ประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 5 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการให้ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร รวม 789 คน ไปลงนามสัญญาเช่า และชำระค่าเช่าในอัตราใหม่ ที่ ร.ฟ.ท. กำหนด โดยศาลฯเห็นว่า การออกประกาศดังกล่าวของ ร.ฟ.ท. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเรียกเก็บค่าเช่าสูงเกินไป และไม่เป็นไปตามระเบียบ ร.ฟ.ท. ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดประโยชน์ ในทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากนายสงวน ดำรงค์ไทย กับพวกซึ่งเป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร รวม 789 คน ได้ยื่นฟ้อง ร.ฟ.ท. นายยุทธนา ทรัพย์เจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถไฟแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 กรณีร่วมกันออกประกาศเรื่องการลงนามในสัญญาเช่าและชำระค่าเช่าแผงค้าในตลาดนัดสวนจตุจักรจำนวน 5 ฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 55 และระหว่างศาลปกครองพิจารณาคดี ก็ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศทั้ง 5 ฉบับของ ร.ฟ.ท.ไว้ก่อน
สำหรับเหตุผลที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาดังกล่าว มีการระบุเหตุผลว่าเป็นเพราะ ร.ฟ.ท.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินกิจการเป็นผู้บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร แม้ที่ดินจะเป็นทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. แต่ตามพ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้ให้อำนาจ ร.ฟ.ท.ดำเนินการที่เกี่ยวกับการขนส่งรถไฟ และกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการกิจการตลาดนัดนอกจากจะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ใช่กิจการรถไฟแล้ว ยังไม่ได้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องกับการขนส่งรถไฟ และเป็นประโยชน์กับกิจการรถไฟหากแต่เป็นกิจการหาสถานที่ให้ประชาชนได้ประกอบการค้า และหาซื้อสินค้า ซึ่งโดยหลักแล้วอยู่ในอำนาจของกรมการค้าภายใน
ส่วนการที่ ร.ฟ.ท.ดำเนินการบริหาร จัดการตลาดนัดจตุจักรแทนกทม. ถือว่าขัดต่อหลักกฎหมายมหาชนว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งองค์กรภาครัฐ ที่มีหลักการสำคัญว่า การจะจัดตั้งหน่วยงานใดขึ้นมาหน่วยงานนั้นจะต้องมีภารกิจ หรืออำนาจหน้าที่ไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น และต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีกลไกต่างๆ เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจหลักขององค์กร ซึ่ง ร.ฟ.ท. ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการรถไฟเป็นการเฉพาะ ไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารกิจการตลาดนัด ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบครั้งที่กทม.เป็นผู้ดำเนินการ การที่ ร.ฟ.ท.เข้าบริหารตลาดนัดจตุจักร จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตามกฎหมาย และอาจถูกเพิกถอนได้ แต่เนื่องจากผู้ค้าทั้งหมดที่เป็นผู้ฟ้องคดีไม่ได้ขอให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของ ร.ฟ.ท. ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเกินคำขอได้ และเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่ต้องไปจัดการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
และเมื่อศาลฯวินิจฉัยว่า ร.ฟ.ท. ไม่มีอำนาจบริหารจัดการตลาดนัด จตุจักรแล้ว ร.ฟ.ท. ย่อมไม่อาจเรียกเก็บค่าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรจากผู้ค้าได้ เว้นแต่ค่าเช่า ที่สามารถเรียกเก็บได้ตามระเบียบ ร.ฟ.ท.ฉบับที่ 129 ว่าด้วย การจัดประโยชน์ในทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. ที่ให้เรียกเก็บค่าเช่าปีละ 2.75% ของราคา ที่ดินต่อปี ซึ่งคำนวณเป็นเงินเท่ากับ 890 บาท/เดือน/1 แผงค้าขนาด 5 ตารางเมตร การที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง 3 เรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ค้าในราคา 3,157 บาท/เดือน/แผง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายพิพากษาห้าม ร.ฟ.ท.เรียกเก็บเงินจากผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรเกินกว่าอัตราเช่าที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าวโดยให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ฟ้องคดี คือวันที่ 2 เม.ย. 55 นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
เรียกว่าพลันสิ้นเสียงคำพิพากษาของศาลปกครอง ทำให้บรรดากลุ่มค้าต่างส่งเสียงเฮด้วยความดีใจ ขณะที่ในส่วนของ ร.ฟ.ท. นั้นล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.กระทรวงคมนาคม ได้กล่าวแสดงความเห็นว่าจะสู้จนถึงศาลปกครองสูงสุด พร้อมยืนยันว่าที่ผ่านมาการกำหนด อัตราค่าเช่าของ ร.ฟ.ท. ได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
แต่ที่น่าจับตามองจากนี้ไป นั่นคือทาง ร.ฟ.ท. จะดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะถ้าดูจากกฎหมายของร.ฟ.ท.ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่มีอำนาจในการบริหารกิจการตลาดนัด ครั้นจะให้คืนกลับไปสู่การบริหารโดยกทม. เชื่อได้ว่าคงไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะตราบใดที่รัฐบาลบริหารโดยพรรคเพื่อไทย และกทม. บริหารโดยพรรคปชป. หนทางในวันข้างหน้านับจากนี้ต่อไปเป็นเรื่องที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เพราะเหตุปัจจัยในที่ดินผืนนี้ถือว่ามีมูลค่ามหาศาล ขณะที่รายได้ที่ทางร.ฟ.ท.หวังจะกอบโกยเพื่อล้างหนี้คือปัจจัยสำคัญ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
บีเคไอ โฮลดิ้งส์ คว้ารางวัลเกียรติยศบริษ...
...
“มหกรรม!!! ผลิตภัณฑ์ฝีมือต้องขัง ครั้งที...
...
การเคหะแห่งชาติเปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ควา...
...
CP ALL เดินหน้าโมเดล “สร้างผู้นำสถานศึกษ...
...
TOA เดินหน้า Net Zero เต็มสูบ ผ่านการรับ...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ