โชว์ไอเดียเด็กไทยลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ผ่าน Real Time Exercise Game

วันศุกร์ที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2564

โชว์ไอเดียเด็กไทยลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ผ่าน Real Time Exercise Game


ในยุคสังคมก้มหน้า ทำให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลกระทบต่อร่างกายในรปแบบต่างๆ วันนี้เด็กไทยเราไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก ผุดไอเดียสร้างนวัตกรรมลดพฤติกรรมเนือยนิ่งผ่าน Real Time Exercise Game by Instagram Filter  ที่มีแชร์บนอินสตาแกรมมากกว่า 5,000,000  ครั้ง

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส. ) ร่วมกับมูลนิธิวายไอวาย และภาคีเครือข่าย จัดพิธีประกาศผลรางวัลโครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ: THAIHEALTH INNO AWARDS ครั้งที่ 3)ประกาศรางวัลนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ปี 3 “ThaiHealth Inno Awards” 3 โดย ในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 319 ทีม ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 20 ทีม และ 1 ในทีมที่ชนะเลิศเป็นน้องๆที่มาจากโรงเรียนโรงเรียนชลกันยานุกูล จากผลงาน Real Time Exercise Game by Instagram Filter

นางสาวณัฐณิชา เลิศกิจเจริญผล นักเรียน โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี จากทีมทีม 16 ยังแจ๋ว กับผลงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา ที่มีชื่อผลงานว่า Real Time Exercise Game by Instagram Filter เป็นตัวแทนเพื่อนๆ กล่าวว่า สำหรับการสร้าง Filter นี้ขึ้นมาเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง สร้างความตระหนักให้กับคนที่เขามาดูในนี้  เพราะพฤติกรรมเนือยนิ่ง คือพฤติกรรมที่นั่งนิ่งๆไม่ขยับไม่ทำอะไรเลย แต่ถ้า Filter ที่เราจะเล่นนี้ คือ เราจะต้องลุกขึ้นมา ซึ่งเราอาจจะมีท่าที่จะต้องอุ้มเพื่อน หรือท่าที่ต้องกางแขน กางขาอะไรแบบนี้ อย่างน้อยมันเป็นการให้เราขยับร่างกาย

“เราใช้เวลาต่อ 1 Filter แค่ 2 วัน แต่ในภาพรวมใช้เวลาทั้งหมดไป 10 อาทิตย์ ในการพัฒนาซึ่งเราต้องใช้เวลาในการศึกษากลุ่มเป้าหมายของเราก่อน ว่าเขาต้องการอะไร ชอบอะไรแบบไหน เราถึงจะได้แรงบันดาลใจการทำ Filter แต่ละตัว”นางสาวณัฐณิชา กล่าว

ส่วนการใช้งานเราพยายามทำให้มันมีความหลากหลายมากที่สุด เกมแรกจะเป็นการเล่นคนเดียวและมีการนับคะแนน ถ้าได้คะแนนมาจะเป็นความเร็วของปิศาจ  เป็นต้น ส่วนเกมที่สองเราปรับเปลี่ยนเมื่อตอนมาเรียนออนไลน์เรารู้สึกเมื่อย เราเลยสร้าง Filter ที่สามารถยืด เหยียดกล้ามเนื้อได้ หรืออย่างเกมที่3 เรามีเพื่อนที่อยากเป็นเซฟ เราจะสร้างเกมที่สามารถสร้างให้เราเป็นเซฟได้ และเกมที่4 เกิดจากการวิเคราะห์เชิงลึก พบว่า เพื่อนๆเราอยากเล่นเกมกับเพื่อนมากกว่า ไม่ชอบการเล่นFilter คนเดียวมากกว่า จึงออกมาเป็นเกมที่ 4 ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก

ซึ่ง Filter เหล่านี้อยู่ในแอพของอินสตาแกรม ซึ่งอยู่ในโซลเซียลมีเดียที่อยู่บนมือถือของทุกคนอย่างแพร่หลาย ซึ่งคำแนะนำที่ได้ก็จะมาจากเพื่อนๆของเรา มาจากอินสตาแกรม 16 ยังแจ๋วยังเปิดโอกาสให้คนมาแนะนำว่าอยากได้อะไรแบบไหน อย่างไร ที่ผ่านมามีคนต่างชาติบอกว่า อยากให้สร้าง Filter ที่สามารถเล่นได้ 3 คน เพราะเขาอยากเล่นกับเพื่อนเขาทั้ง 3 คน

ในครั้งนั้นเราเลือกใช้วิธีที่จะพูดโปรโมทกับเพื่อนๆ ปรากฏว่าเพื่อนๆไม่ค่อยสนใจ เพราะเพื่อนอาจจะมีงานที่ต้องทำ เราเลยเปลี่ยนวิธีการโปรโมทโดยการไปเล่นอยู่ที่หน้าห้อง เล่นกันอย่ 3 คน จากนั้นก็มีเพื่อนมาร่วมเล่นด้วย มาถามว่ามันคืออะไร หลังจากนั้นก็ไปตั้งกล้องเป็นของตนเองแล้วก็มาเล่นกัน

นางสาวณัฐณิชา  กล่าวว่า บนแพลทฟอร์มของอินสตาแกรมเราจะไม่รู้ว่ามีคนเข้ามาเล่นมากน้อนแค่ไหน แต่ในการแชร์มีมากถึง 58,000 ครั้ง และมีคนที่เห็นจากการแชร์บนอินสตาแกรมมากกว่า 5,000,000  ครั้ง และมีผู้ใช้งานบางคนเอาไปเล่นในTIK TOK ทำให้เกิดกระแสไวรัลกันขึ้นมาทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีคนอินโดนีเชีย ฟิลิปินส์เอามาเล่น และโพสต์ใน TIK TOK มากถึง 1,200 กว่าคลิป

ส่วนระยะเวลาในการเล่น เราจะเล่นนานแค่ไหนก็ได้ ต่อ 1 Filter ประมาณ 20 วินาที  สามารถเล่นได้หลายรอบและแชร์ลงโพสต์ จากของมูลบนิอินสตาแกรมพบว่ามีคนเล่นอายุตั้งแต่ 17 ปี จนถึง 60 ปี เพราะ Filterนี้ สามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก และประมาณ 45% จะมีอายุ 17-45 ปีที่จะเข้ามาเล่น นอกนั้นจะเป็น 18-60 ปีขึ้นไป

“หนูเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก และเรามีแนวคิดที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน เพราะพฤติกรรมเนือยนิ่งมันมีผลกระทบต่อชีวิตของเราจริงๆ ที่อยู่ในยุคนี้ ที่เรานั่งเล่นโทรศัพท์เป็นประจำโดยไม่ออกกำลังกาย ไม่ค่อยทำอะไร เราเลยคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องี่สำคัญ เลยทำนวัตกรรมที่ช่วยได้จริงและลดได้จริงๆ”นางสาวณัฐณิชา   กล่าว สรุป

ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันนี้นวัตกรรมมีความสำคัญมาก เราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีคิดแบบเดิมๆไม่ได้อีกต่อไป  ในโลกยุคใหม่ ที่มีโรคเกิดใหม่อย่างโควิด-19 แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 85 คน เท่ากับจำนวนคนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพียงวันครึ่งเท่านั้น  จะเห็นว่าประเทศเรามีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกว่าโรคโควิด-19

“ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ให้มีคนตายน้อยลงคือ การนำนวัตกรรมทั้งในด้านวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วย ซึ่งทาง สสส.อยากให้พวกเราออกมาช่วยกันบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่มีจุดเริ่มต้นจากดิน มาต่อยอด เราอยากให้ทุกคนมาช่วยการสร้างเครื่องมือเพื่อทะลุทะลวงปัญหา ด้านสุขภาพกันต่อไป” ดร.สุปรีดา กล่าว

สำหรับ ทิศทางการทำงานของ สสส. ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา มุ่งสู่การเป็น “องค์กรนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” โดยเราได้คิดค้นนวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อจัดสรร ออกแบบสิ่งแวดล้อมรอบตัวประชาชนให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ 4 มิติ คือ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญา

 โครงการ ThaiHealth Inno Awards จึงเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนวิธีการทำงานของ สสส. โดยเปิดเวทีให้เยาวชนจะต้องรู้จักสำรวจปัญหาหรือความต้องการของสังคม เพื่อนำไปสู่การออกแบบนวัตกรรมที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคม และสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต

สำหรัแนวคิดการประกวด “ชีวิตดีเริ่มที่เรา” ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน หรือช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในหัวข้อ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่, ลดอุบัติเหตุทางถนน, เพิ่มการบริโภคผักผลไม้และอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ, เพิ่มกิจกรรมทางกายหรือลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง, การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ เช่น การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และนวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. ​ ​

สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ “รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา” และในปีนี้ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ Real Time Exercise Game by Instagram Filter จากทีม 16 ยังแจ๋ว โรงเรียนชลกันยานุกูล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ อุปกรณ์เตือนภัยขาตั้งสำหรับรถจักรยานยนต์ 1 ได้ถึง 3 (ขาตั้งสติแตก) จากทีม IF โรงเรียนวังโพรงพิทยาคม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ตุ๊กตาช่วยเตือนจุดเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในการขับรถ ทีม Mito Team โรงเรียนศรีตระกูลวิทยา

 “รางวัลชนะเลิศระดับอาชีวศึกษา” ได้แก่ FIFO light นวัตกรรมในซอยแคบ ทีม R-lu-mi-right วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยาสงขลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เกมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง “น้องจุกผจญภัย” ทีมน้องจุก จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ เครื่องผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารสําหรับครัวเรือน ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากทีม SRPC Save the world วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี และมีรางวัลพิเศษ Rising star ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ที่มีโอกาสพัฒนาต่อในอนาคตได้ 2 รางวัลได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา Water scrubber system face mask หน้ากากจากระบบบำบัดอากาศแบบเปียก (D-mask ดีม๊ากกก) ทีมวุยก๊กจะเฟื่องฟูศัตรูจะแพ้พ่าย โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ได้แก่ ระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ BizcomPN (SEX EDUBOT) ทีม BizcomPN วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ