Toggle navigation
วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
กทม.- สังคม - การศึกษา - CSR
"ฝายชะลอน้ำ" ระบบนิเวศยั่งยืน
"ฝายชะลอน้ำ" ระบบนิเวศยั่งยืน
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556
Tweet
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสยามธุรกิจ ได้รับเกียรติให้ไปร่วมศึกษาดูงาน "ชุมชนสร้างฝาย..ฝายสร้างชีวิต"โดยโครงการ "SCG V GEN อาสายั่งยืน" ที่จังหวัดลำปาง โดยงานนี้ "รายการเจาะใจ" ได้ร่วมมือกับ "เอสซีจี" เพื่อ ทำงานสร้างสรรค์สังคม งานนี้ได้รับเกียรติจาก "โดนัท-มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล" เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่พาน้องๆ จิตอาสาไปศึกษาการทำฝายชะลอน้ำที่ "ชุมชนหมู่บ้านสาสบหก" อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง พร้อมทั้งนำแนวความรู้ที่ได้รับมาส่งต่อถ่ายทอดให้กับ "ชุมชนหมู่บ้านสาแพะ" อำเภอเดียวกัน
บรรยากาศที่เราได้พบเห็นสร้างความประหลาดใจให้เราพอสมควร เพราะ สองชุมชนที่ห่างกันเพียงไม่กี่กิโลเมตรกลับมีความแตกต่างกันอย่างเหลือเชื่อในตำบลบ้านสา มีหมู่บ้านทั้งหมด ประมาณ 10 หมู่บ้าน มีการสร้างฝายชะลอน้ำแล้ว 7 หมู่บ้าน และหมู่บ้านสา แพะกำลังริเริ่มเมื่อเราไปถึง ความแตก ต่างที่เราได้เห็นชัดเจนมากระหว่างหมู่บ้านที่มีการสร้างฝายแล้วกับที่ยังไม่ได้สร้างที่หมู่บ้านสาสบหก เราได้เห็นถึงความชุ่มชื้น มีแม้กระทั่งประปาหมู่บ้าน ในขณะที่หมู่บ้านสาแพะตอนที่เราไปถึง เพิ่งผ่านพ้นวิกฤติไฟป่าไปหมาดๆ ความ แห้งแล้งของป่าไผ่ที่ปูลาดไปด้วยผืนทรายสะท้อนให้เราเห็นถึงความแห้งแล้ง อย่างสาหัสสากรรจ์
คนในหมู่บ้านเล่าให้เราฟังถึงจุดเปลี่ยนอย่างหนึ่งที่คิดจะริเริ่มสร้างฝาย ว่า หมู่บ้านสาแพะเพิ่งจะมีการเปลี่ยนผู้นำชุมชนใหม่ตามวาระ ผู้นำคนเก่าเป็น คนหัวโบราณที่เชื่อว่าน้ำที่มีใช้เกิดมาได้จากใต้ดินตามธรรมชาติและมองว่าการสร้างฝายเป็นเรื่องไร้สาระ ผิดกับผู้นำใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะเรียนรู้ และเป็นจังหวะเดียวกับที่โครงการนี้เข้ามาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสร้าง ฝายชะลอน้ำทำให้ได้เห็นถึงประโยชน์
อีกปัญหาหนึ่งที่ชุมชนบ้านสาแพะต้องเจอทุกปีนอกจากความแห้งแล้งคือ.. "ไฟป่า"
ไฟป่าที่เกิดมาจากน้ำมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเพราะการทำไร่ การเผาไล่สัตว์ของนายพราน หรือแม้แต่เพื่อให้ผักหวานแตก ยอดอ่อนโดยขาดความรู้และการไตร่ตรอง
สิ่งที่เราและชาวบ้านได้เรียนรู้เกี่ยว กับฝายชะลอน้ำในครั้งนี้คือ การใช้ทรัพ- ยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) ซึ่งรวมถึงการสร้างฝายชะลอความ ชุ่มชื้นหรือที่เรียกว่า Check Dam เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ ให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บาง ส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสอง ฝั่งน้ำ กลายเป็นป่าเปียก
ฝายชะลอน้ำ ฝายต้นน้ำลำธาร ฝายกั้นน้ำ ฝายแม้ว หรือฝายชะลอความ ชุ่มชื้น ต่างก็คือสิ่งเดียวกัน เรียกด้วยภาษา อังกฤษว่า Check Dam คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางเดินของลำน้ำ เพื่อชะลอ การไหล ลดความรุนแรงของกระแสน้ำและ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง ช่วยให้น้ำ อยู่ในลำห้วยนานขึ้นโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสและมีคุณภาพดีขึ้น ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ให้สัตว์น้ำและสัตว์ป่า ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนสังคมพืชให้แก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น เมื่อดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟลดความรุนแรงของไฟป่าได้
เราเชื่อว่าหลังจบโครงการนี้แล้ว สิ่งที่จะอยู่ยั่งยืนต่อไปจะเกิดจากจิต สำนึกของคนในชุมชนเอง เมื่อเขาได้รับรู้ เรียนรู้และลงมือทำเองแล้ว เขาก็จะต้องปกป้อง และสานต่อไปเพื่อการ ยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนของเขา..และเรารู้ว่าเขาจะทำมัน..
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
กรมวิทย์ฯ บริการ จับมือ กรมศิลป์ฯ ประกาศ...
...
“ดร.เอ้” เสนอโมเดล Education Complex ปั้...
...
Green Mission ต่อเนื่อง! ศุภาลัยยกก๊วนพน...
...
ทิพยประกันภัย ต้อนรับ คณะเยาวชน-ผู้ปกครอ...
...
ไอคอนสยาม จับมือ กรุงเทพมหานคร และภาคีภา...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ