องค์กรด้านเด็กและสตรีบุก พม.ต่อต้านฉากข่มขืนในละคร

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

องค์กรด้านเด็กและสตรีบุก พม.ต่อต้านฉากข่มขืนในละคร


ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  นางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นายชูวิทย์  จันทรส เลขาธิการมูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว และภาคีเครือข่าย เดินรณรงค์ต่อต้านฉากข่มขืนในละคร “เมียจำเป็น” เข้ายื่นข้อเสนอ ต่อนายอนุกูล  ปีดแก้ว รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนางจินตนา  จันทร์บำรุง  อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ขอให้เร่งสร้างกติการ่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา

 นางสาวอังคณา กล่าวว่ามูลนิธิฯ เก็บรวบรวมสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศจากหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ ปี 2562 พบว่า มีข่าวความรุนแรงทางเพศ จำนวน333 ข่าว แบ่งเป็น ข่าวข่มขืน ร้อยละ43.9 ข่าวบังคับค้าประเวณี ร้อยละ11.7 ข่าวพยายามข่มขืน ร้อยละ10.2 สำหรับอายุผู้ถูกกระทำ พบมากที่สุด คือเด็กและเยาวชน11-15 ปี ร้อยละ47.3 ความสัมพันธ์ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ เกิดจากบุคคลแปลกหน้า/ไม่รู้จักกัน ร้อยละ45.9 เป็นคนรู้จักคุ้นเคยและเป็นบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 45.6 ถูกกระทำจากบุคคลที่รู้จักกันผ่าน Social Network ร้อยละ 8.5 และพบปัจจัยกระตุ้นมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติด โดยเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังปี 2558 มีข่าวความรุนแรงทางเพศ จำนวน 306 ข่าว ปี 2560 มีข่าวความรุนแรงทางเพศ จำนวน 317 ข่าว สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงทางเพศโดยเฉพาะการข่มขืนยังไม่ลดลงและเป็นปัญหาที่น่ากังวล อีกทั้งยังมีการผลิตซ้ำมายาคติผิดๆ ต่อการข่มขืนผ่านละคร จากกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ฉากข่มขืนละครเรื่องเมียจำเป็น มีลักษณะสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการข่มขืนโดยเนื้อหาของละครมีการโทษฝ่ายหญิง (Victim Blaming) และทับถมด้วยคำพูดรุนแรง และตอกย้ำความคิดแบบชายเป็นใหญ่ ถือเป็นอุปสรรคต่อความเสมอภาคระหว่างเพศ ละครมีหลายประเด็นไม่สมควรนำเสนอเพราะเป็นการผลิตซ้ำการข่มขืน การใช้ความรุนแรง การแสดงท่าทีหรือใช้คำพูดรังเกียจ การถ่ายคลิปประจาน และการตั้งคำถามผู้ถูกข่มขืน ซึ่งการโทษผู้ถูกข่มขืนจึงเป็นการกระทำหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรงทางอ้อม ผลิตซ้ำการตีตราผู้ถูกข่มขืน เป็นทัศนคติที่กล่าวโทษผู้ถูกข่มขืนว่ามีส่วนในการทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้น ทัศนคตินี้โยนความรับผิดชอบไปให้ผู้ถูกข่มขืน สิ่งที่น่ากังวล คือ จะยิ่งทำให้ผู้ถูกข่มขืนไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี ถูกตีตราและกล่าวโทษตัวเอง

“มูลนิธิและภาคีเครือข่าย ขอแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้อง คือ1.ขอให้ พม. เชิญผู้ผลิตละคร และสถานีโทรทัศน์ ทีวีดิจิตอล รวมไปถึงช่องสื่อออนไลน์ที่มีละคร และ กสทช.มาทำความเข้าใจเพื่อยุติเนื้อหาละครที่ไม่สร้างสรรค์และยังสร้างทัศนคติที่ผิดๆเกี่ยวกับการข่มขืน และการคุกคามทางเพศ โดยเปิดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ข้อ 2.ในการรณรงค์เพื่อทำความเข้าใจต่อประชาชน ผู้บริโภคให้เข้าใจเรื่องการคุกคามทางเพศ การข่มขืนในความหมายที่ถูกต้อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวง พม.ต้องเร่งดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ตลอดจนการมีกลไกติดตามเฝ้าระวังเพื่อจัดการให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง 3.ขอแสดงจุดยืนต่อต้านฉากข่มขืนในละครทุกรูปแบบ และขอเรียกร้องให้บริษัท สินค้าที่สนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ละครทีวีดังกล่าว พิจารณาทบทวนการสนับสนุน  และโปรดมีจุดยืนที่จะไม่สนับสนุนละครที่มีฉากข่มขืนทุกกรณี 4.ขอเรียกร้องต่อประชาชน ในฐานะผู้บริโภคสื่อ ให้ช่วยกัน



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ