Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
กทม.- สังคม - การศึกษา - CSR
พ่อแม่หวั่นลูกเรียนอินเตอร์ ลืมความเป็นไทย (จบ)
พ่อแม่หวั่นลูกเรียนอินเตอร์ ลืมความเป็นไทย (จบ)
วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556
Tweet
ฉบับนี้มาตามต่อการเสวนาเรื่อง "2013 ปฏิรูปการศึกษาแนวใหม่ เพื่อเด็กไทยสู่ยุคไร้พรมแดน" ซึ่งผู้ร่วมเสวนาทั้งสามคนที่ผ่านมาได้เป็นห่วงเรื่องของระบบการ ศึกษาไทยที่มุ่งพัฒนาภายนอก รวมถึงยุทธศาสตร์ที่ขาดความ ต่อเนื่อง การยกย่องประเทศอื่นอาจเป็นการปลูกฝังให้เด็กมองไม่เห็นคุณค่าของประเทศไทย อีกทั้งการให้ลูกหลานไปเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติอาจจะทำให้เวลาเด็กโตขึ้นขาดความรู้สึก เป็นคนไทย สำหรับผู้ร่วมเสวนาคนต่อไปคือเป็นสาวสวยหนึ่งเดียวบนเวที "คุณสู่ขวัญ บูลกุล" ที่มาในฐานะคุณแม่ มาแบบฉีกแนวคุณแม่ส่วนใหญ่ว่า "ไม่ต้องการให้ลูกเป็นคน เรียนหนังสือเก่ง แต่หวังให้เป็นคนที่แยกแยะ ในสิ่งที่ผิดและถูกออก อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะใช้ชีวิตต่อไปได้จริงๆ เธอตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบัน พ่อแม่ส่วนใหญ่อาจโตมาในช่วงที่สังคมกำลัง มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องการให้ลูกเข้าโรงเรียนอินเตอร์ ให้เด็กมีความเป็นฝรั่งมาก ที่สุด บางคนพูดภาษาไทยไม่ได้เลย" "ขวัญเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบแบบนี้ เพราะต่อไปในอนาคตสังคมไทยอาจมีปัญหา เราไร้รากอย่างชัดเจน ที่สุดแล้วขวัญเชื่อว่า ไม่มีประเทศไหนจะเจริญยิ่งใหญ่ได้ถ้าไม่มีรากที่ลึกและแข็งแรง ซึ่งปัญหาเหล่านี้อยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ด้วย บางครั้งครูหรือโรงเรียน หลายแห่งกลัวผู้ปกครอง ถ้าครูทำโทษลูกเขา ก็อาจรวมตัวมาฟ้องอาจารย์ใหญ่ ทำให้ ครูไม่กล้าที่จะลงโทษซึ่งไม่ได้หมายถึงการกระทำที่รุนแรง แต่เป็นขั้นตอนที่เด็กจะได้เรียนรู้ว่าทุกๆ การกระทำย่อมมีผลเสมอ ถ้าลูกไม่ทำการบ้านส่ง หรือพูดจาไม่เพราะ เขาก็ต้องได้รับผลจากการกระทำนั้น คนไทย ก็เหมาะกับประเพณีและวัฒนธรรมของไทย สิ่งไหนล้าสมัยหรือไม่เหมาะเราปรับเปลี่ยน ได้ แต่สุดท้ายเราหนีตัวตนของเราไปไม่ได้ วัฒนธรรมไทยมีสถานะพิเศษสำหรับครูบาอาจารย์ เรากราบ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ แม่ และครูบาอาจารย์ ถ้าเรา ให้ท่านอยู่ในฐานะลูกจ้าง หรือตัวท่านเองคิดว่าเป็นแค่ลูกจ้างกินเงินเดือน เขาก็ทำแค่นั้น แต่ถ้าคิดว่าอยู่ในฐานะพิเศษที่เหมาะสม ที่คนจะกราบเท้า ครูก็จะเป็นผู้ที่มีคุณค่าสำหรับสังคมไทย เราอย่าเปลี่ยนค่านิยมที่ดี หลายอย่างเราพัฒนาได้ แต่รากต้องรักษาไว้เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เราเจริญได้" "คุณสู่ขวัญ" ฝากไว้สำหรับคนที่ชื่นชมในวัฒนธรรมต่างประเทศจนมองข้าม ข้อดีของประเทศตัวเองว่า "การที่ประเทศต่างๆ มีการพัฒนาตัวเองได้ดี เราก็ยินดีกับ เขาโดยไม่จำเป็นต้องอยากเป็นเหมือนเขา เพราะเราไม่สามารถเป็นคนอื่นได้นอกจากตัวเราเองได้ดีที่สุด และการที่จะเป็นตัวเอง ได้ดีเราต้องมีความภาคภูมิใจในตัวเองด้วย" บุคคลท่านสุดท้ายที่มาแบ่งปันความคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษา คือ "คุณดวงฤทธิ์ บุนนาค" สถาปนิกหนุ่ม ที่มีสถานะเป็นคุณพ่อคนหนึ่ง ได้ชี้ตรงประเด็นเปรี้ยงว่า อยู่ที่ครูว่าอยากสร้างนักเรียนให้เป็นแบบไหน โดยเปรียบเทียบกับการเล่นบาสว่า อยากให้นักเรียนเป็นผู้ชมที่นั่งลุ้นคะแนนบน สกอร์บอร์ด หรือให้เป็นนักบาสที่สนใจการเล่นอย่างเดียวโดยไม่พะวงกับการดูคะแนน บนสกอร์บอร์ด การวัดผลของการเรียนการ ศึกษาไม่ได้อยู่ที่สกอร์บอร์ด อยู่ที่ว่าอยากให้ อะไรคือผลลัพธ์ในชีวิตของเขา เช่น เด็กเรียนจบมาด้วยผลการเรียนที่ดี หรือเรียนจบมาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต "ผมว่าชีวิตที่มีความรู้ ไม่ได้แปลว่าจะ มีผลลัพธ์เสมอไป ประเด็นอยู่ที่ว่าพ่อแม่หรือ คุณครูอยากสร้างเด็กให้มีความรู้ หรือให้มีผลลัพธ์ การที่จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิต เขาจะต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร ผมใช้คำว่า Being กับ Knowing จริงๆ แล้วการทำให้คนรู้ไม่ได้ทำให้เขาสร้างผลลัพธ์ แต่ถ้าให้เขารู้ว่าเป็นใครนั่นแหละคือ สร้างผลลัพธ์ สิ่งสำคัญคือ เรามีวิธีอะไรที่จะทำให้ เขารู้ว่าเขาเป็นใคร การศึกษาของเรานำเขา ไปสู่ตรงนั้นหรือเปล่า ถ้าเด็กรู้ในจุดนี้แล้ว ก็จะเริ่มลงมือทำอะไรบางอย่างสำหรับชีวิต เขา มีความมั่นใจที่จะทำ และมีความคิดสร้างสรรค์ เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก" "เรื่องภาษาอังกฤษ ผมว่าเป็นเรื่องของมุมมองที่มากขึ้น มีบางคำที่ภาษาไทยมีความหมาย แต่ภาษาอังกฤษหาความหมาย นั้นไม่ได้ และมีคำอังกฤษอีกหลายคำที่ภาษาไทยหาคำแปลไม่ได้ คุณค่าของทั้งสองภาษามีทั้งสองด้าน คนที่รู้ภาษาอังกฤษ อย่างเดียวก็โอเค พูดภาษาไทยอย่างเดียวก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ารู้ทั้งสองภาษาก็ได้เปรียบ สิ่งเหล่านี้ต้องถูกสร้างตั้งแต่เด็ก บางทีมา สร้างตอนเรียนมหาวิทยาลัยอาจสายเกินไป แล้ว ต้องเริ่มสร้างตั้งแต่ระดับมัธยม และต้องสร้างจากจุดที่ว่าไม่มีอะไรถูกหรือผิด มีแต่เวิร์กกับไม่เวิร์กเท่านั้น" สถาปนิกชื่อดัง ยังกล่าวในบทบาทของความเป็นคุณพ่อด้วยว่า "ไม่ตั้งเป้าหมายให้ลูกว่าเมื่อโตขึ้นต้องเป็นอะไร เพราะ ต้องการให้ลูกมีชีวิตของเขาเอง มีความรักและภูมิใจกับชีวิตที่เขาเป็น ผมอยากให้ลูกเติบโตมาเป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้นำที่ชี้นิ้วสั่งคนอื่น แต่เป็นผู้นำที่เป็นแรงบันดาลใจของผู้คน อย่าง มหาตมะ คานธี, เนลสัน แมนเดลา หรือแม่ชีเทเรซา การที่เด็กจะเป็นแบบนี้ได้ เราต้องเริ่มต้นให้เขามีความรับผิดชอบชีวิต ของเขาเอง เมื่อเด็กทำได้ก็สามารถเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ สังคมไทยต้องการผู้นำมากกว่าหนึ่งหรือสองคน เราต้องการเห็นประเทศนี้มีเด็กทุกคนเป็นผู้นำ เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้" นานาทรรศนะของบุคคลที่มีสถานะทางสังคมเหล่านี้ เป็นมุมมองที่น่าสนใจสำหรับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของ เด็กไทยรุ่นใหม่ไม่น้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
CP ALL เดินหน้าโมเดล “สร้างผู้นำสถานศึกษ...
...
TOA เดินหน้า Net Zero เต็มสูบ ผ่านการรับ...
...
กรมวิทย์ฯ บริการ จับมือ กรมศิลป์ฯ ประกาศ...
...
“ดร.เอ้” เสนอโมเดล Education Complex ปั้...
...
Green Mission ต่อเนื่อง! ศุภาลัยยกก๊วนพน...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ