Toggle navigation
วันจันทร์ ที่ 26 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
วิเคราะห์-บทความ-คอลัมน์
แม่พิมพ์พระสมเด็จฯแบบหินแกะ
แม่พิมพ์พระสมเด็จฯแบบหินแกะ
วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Tweet
"ตัวแม่พิมพ์" ที่ใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง มีสองแบบ ซึ่งแบบแรกเป็นแบบที่ทำด้วยโลหะ และใช้กดลงในเนื้อมวลสาร ก็ได้นำเสนอผ่านไปแล้วถึง 4 ตอนด้วยกัน ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายในเรื่องของ "ตัวแม่พิมพ์" พระสมเด็จวัดระฆัง จึงได้นำแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังอีกแบบหนึ่ง คือ แบบหินแกะ มานำเสนอ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเรื่องที่จบสมบูรณ์ ครบถ้วนกระบวนความ
ความจริงแล้ว แม่พิมพ์แบบหินแกะ เป็นแม่พิมพ์แบบดั้งเดิม ที่นิยมทำกันมาช้านานแล้ว เพราะทำได้ง่าย โดยใช้หินลับมีดโกน ซึ่งแกร่งแต่แกะได้ง่ายทำเป็นแม่พิมพ์ตัวเมียด้านเดียว แกะให้ลึกลงไปให้พอที่จะได้รูปร่างขององค์พระและส่วนประกอบต่างๆ แต่ไม่ต้องลึกมาก เพราะจะเป็นปัญหาในการเอาพระออก จากแม่พิมพ์ ความหนาที่เหลือของพระที่พิมพ์ จะใช้การตัดกรอบออกด้วยของมีคม ซึ่งบางท่านก็ว่าใช้ตอกตัด บางท่านก็ว่าใช้มีดโกนที่ใช้โกนศีรษะพระเณรซึ่งเสียแล้วมาตัด ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ทั้งสองอย่างที่ว่ากัน
เมื่อได้แม่พิมพ์แล้ว ก็เอาเนื้อมวลสารที่หมาดๆ ปริมาณพอเพียงที่จะทำพระ กดลงในแม่พิมพ์ ใช้กระดาน หรือแผ่นอิฐ แผ่นกระเบื้อง ช่วยกดมวลสารให้เข้าพิมพ์และทำให้หลังเรียบด้วย ถ้ากดลงไปมากพระก็จะบาง กดน้อยพระก็จะหนา เสร็จแล้วเอาเนื้อมวลสารออกจากแม่พิมพ์ หงายขึ้นแล้วจึงทำการตัดกรอบพระ ผึ่งให้แห้งดีแล้วก็นำไปชุบรัก ลงรัก หรือย้อมรักต่อไป
แม่พิมพ์แบบหินแกะนี้ ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังตลอดมา การกดเนื้อมวลสารลงในพิมพ์ แทนการกดพิมพ์ลงในเนื้อมวลสาร จะให้ผลลัพธ์ คือพระที่ได้ออกมาต่างกัน กล่าวคือ พระที่ได้จากแม่พิมพ์แบบหินแกะ จะมีด้านหลังที่เนื้อมวลสารมีความหนาแน่นสูงกว่าด้านหน้าขององค์พระ เพราะส่วนที่เป็นความชื้นหรือน้ำจะถูกบีบให้ลงไปอยู่ทางด้านหน้าของพระ ต่อมามีการลงรักปิดช่องการระเหยของน้ำไว้ ถ้าพระไม่ถูกความร้อนสูงก็จะทำให้น้ำที่ยังคงค้างอยู่ในเนื้อมวลสารไม่ระเหยออก และค่อยๆ รวมตัวเข้ากับเนื้อมวลสาร ทำให้พระมีน้ำหนักดี และเนื้อหนึบนุ่ม แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าพระที่ลงรักปิดช่องระเหยของน้ำหรือน้ำมันตังอิ้วไว้ เมื่อถูกความร้อนสูง น้ำหรือน้ำมันตังอิ้วก็จะขยายตัวดันรักที่เคลือบไว้ออกมา ก็จะเกิดรอยยุบ รอยย่น รอยปูไต่ รอยหนอนด้น รอยพรุนรูเข็มทางด้านหน้าขององค์พระ มากกว่าที่เกิดทางด้านหลัง
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ที่นำภาพมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังในวันนี้ เป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์ แบบหินแกะ เราจะเห็นรอยยุบย่น รอยปูไต่ทางด้านหน้าขององค์พระมากกว่าทางด้านหลัง ซึ่งด้านหลังจะเป็นแบบหลังเรียบ ถูกต้องตามข้อสมมติฐานที่ผู้เขียนได้นำเสนอในเรื่องของตอนนี้ และหลายตอนที่ผ่านมา ถ้าท่านค่อยๆ พิจารณาด้วยเหตุด้วยผลที่ผู้เขียนชี้แนะ ท่านก็จะเข้าใจได้ โดยไม่ยาก พระสมเด็จวัดระฆัง มีเนื้อมวลสารเหมือนกัน จึงมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามวลสาร นั่นก็คือคราบสีขาวของแคลเซียมคาร์บอเนต จะต้องเกิดทุกองค์ไม่ว่าแม่พิมพ์จะเป็นแบบไหน อันนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ต่อมาก็ให้สังเกตแบบของแม่พิมพ์ให้ออก ถ้าธรรมชาติบนองค์พระสอดคล้องกับชนิดของแบบพิมพ์แล้วละก็พระองค์นั้นเป็นพระแท้ไปกว่าครึ่งแล้วครับ
อดุลย์ ฉายอรุณ : โทร.08-1813-1701
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
มาตรการ MPOWER เสาหลักกฎหมายควบคุมผลิตภั...
...
“ทักษิณ” พ่อมดการเมือง????...
...
สังคมอุดมการพนัน By นายหวานเย็น...
...
ประธานาธิบดีพันธุ์หมาบ้า...
...
7 วิธีเปลี่ยนผู้ติดตามให้กลายเป็นลูกค้าป...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ