ไขข้อสงสัย ? ความปลอดภัย การใช้อีวอลเล็ทที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563

ไขข้อสงสัย ? ความปลอดภัย การใช้อีวอลเล็ทที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน


ทคโนโลยี e-Payment หรือ e-Wallet นั้นเกิดขึ้นและให้บริการในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปีแล้ว ปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่เป็น Bank และ Non-Bank หลายราย ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น internet / mobile banking หรือแอปพลิเคชั่น e-Wallet ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย แม้รูปแบบการให้บริการเหล่านี้จะได้รับความนิยมสูงและมียอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่เจ้าของบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บางรายยังมีความกังวลใจเมื่อมีข่าวการถูกหลอกลวงฉ้อโกงเกิดขึ้น โดยปัจจัยด้าน “ความปลอดภัย” และ “ความเข้าใจ” ในการใช้งานอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยสถิติล่าสุด ระหว่างปี 2561 - 2562 มีคนไทยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมการล่อลวงบนโซเชียลสูงเกือบ 6 พันราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1.1 พันล้านบาท และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลาย ๆ กรณีที่กำลังเกิดขึ้น โดยเทคนิคที่มิจฉาชีพนิยมใช้มากที่สุดและได้ผลกับคนไทยที่สุด คือ การฟิชชิ่ง (Phishing) สร้างเว็บไซต์ปลอม โปรไฟล์ปลอม หรือสวมรอยโดยใช้รูปปลอมบนโซเชียล หรือโพสต์ข่าวปลอม เพื่อปั่นหัวและนำข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายไป log-in และทำธุรกรรมโดยที่ผู้เสียหายไม่รู้ตัวหรือยินยอม และสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ใช้บริการว่าการใช้ e-Wallet มีความเสี่ยง

3 ขั้นตอนที่คนร้ายใช้หลอกลวง

ขั้นตอนที่ 1 นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ กุข่าวปลอม หรือ สร้างเว็บปลอม หลอกให้ผู้ใช้บริการลงทะเบียน ส่งข้อมูลส่วนตัวให้ ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นมิจฉาชีพจะใช้เทคนิคหรือกลโกงรูปแบบต่าง ๆ เพื่อล่อลวงเหยื่อ กลโกงที่มิจฉาชีพมักจะนำมาใช้ เพื่อล่อลวงเหยื่อ เช่น 1. หลอกขายสินค้า Online 2. หลอกยืมเงิน/โอนเงินช่วยเหลือ (Hack Facebook, Hack LINE 3. หลอกเงินกู้ เงินด่วน 4. หลอกว่าได้รางวัลใหญ่

ขั้นตอนที่ 3 ในขั้นตอนนี้ หากผู้ใช้บริการเผลอให้ข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือข้อมูลทางการเงิน เช่น หมายเลขบัตร ATM, รหัส ATM หรือรหัส OTP มิจฉาชีพก็จะใช้ข้อมูลดังกล่าวในทางมิชอบ จนเกิดความเสียหายตามมา

ซึ่งตรงนี้เองจะเห็นได้ว่า ความผิดพลาดในอันดับต้น ๆ คือการขาดความเข้าใจรู้เท่าทันกลโกงของผู้ทุจริต จนนำมาซึ่งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินแก่กลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการทุจริต หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเจ้าของข้อมูล

ความปลอดภัยใน e-Wallet มีอะไรบ้าง

จากที่กล่าวมาจนถึงตอนนี้คงทำให้หลายท่านสงสัยว่าแล้วระบบความปลอดภัยของ e-Wallet นั้นพัฒนาไปถึงไหนและสามารถปกป้องผู้ใช้บริการได้แค่ไหน และถ้าปลอดภัยจริงทำไมยังมีข่าวถูกล่อลวงซ้ำ ๆ ได้ ซึ่งแท้จริงแล้วระบบความปลอดภัยของ e-Wallet ได้ผ่านข้อกำหนดของมาตรฐานความปลอดภัยในระดับที่สูงตามที่อุตสาหกรรมทางการเงินให้การยอมรับ อีกทั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเฉกเช่นสถาบันทางการเงินที่สำคัญอื่น ๆ ระบบได้มีการเข้ารหัสด้วยอัลกอริทึม การเข้ารหัสชั้นสูงสำหรับข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และอื่น ๆ อีกทั้งในระหว่างการทำธุรกรรมจะมีการใช้รหัสเฉพาะขึ้นมาในแต่ละชุดแบบสุ่มไม่ซ้ำกัน

โดยระบบความปลอดภัยของ e-Wallet ได้แก่ ปลอดภัยด้วยระบบการยืนยันตัวตน, ปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสในทุกข้อมูลที่กรอก, ปลอดภัยในการทำธุรกรรม, ปลอดภัยด้านการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Protection) และปลอดภัยด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ (Accountability) 

ทั้งนี้ ทรูมันนี่ ประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในผู้นำบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ในประเทศไทย ห่วงใยผู้ใช้บริการและไม่ต้องการให้ใครก็ตามต้องกลายเป็นเหยื่อจากการถูกหลอกลวงเอาข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ขอนำเสนอวิธีรับมือกับความเสี่ยงของการหลอกลวงที่พบได้บ่อยบนโลกออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ปรับตัวและรู้เท่าทันภัยออนไลน์ โดยต้องระลึกไว้เสมอว่า “สติ” ต้องอยู่คู่กับ “สตางค์” เสมอ ดังนี้

โลกของเรามีสองด้านเสมอทั้งด้านมืดและด้านสว่าง เปรียบดั่งเทคโนโลยีที่มักมีผู้นำไปใช้ในทางที่ดีและในทางที่ผิดอยู่ตลอดเวลา ยิ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีมากเท่าไร สติและการคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้ของเราเองก็ควรเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น เพราะไม่ว่าระบบจะมีความปลอดภัยสูงแค่ไหน แต่หากเรายังยื่นกุญแจหรือกระเป๋าเงิน (รหัสผ่าน, ข้อมูลส่วนตัว, เลขที่บัญชีธนาคาร) ให้กับมิจฉาชีพอย่างง่ายดาย ก็เสมือนว่าเราเป็นผู้เชื้อเชิญให้คนเหล่านี้เข้ามาสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของเราเอง



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ