"ITE 2019" โชว์ศักยภาพสู่เวทีโลกกรุยทาง ‘ประเทศแห่งนวัตกรรม’

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562



สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเวทีมอบรางวัล “นวัตกรรม ประจำปี 2562” (Innovation Awards 2019) ภายในงาน Innovation Thailand Expo 2019 : ITE 2019 แก่สุดยอดนวัตกรรมของประเทศ เชิดชูนักสร้างสรรค์นวัตกรรม ก่อเกิดคุณค่าทั้งระดับองค์กร ระดับประเทศ และระดับโลก สื่อสารศักยภาพนวัตกรรมของคนไทย มุ่งสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” ในอนาคต

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดิน

NIA ได้ริเริ่มและจัดประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ” มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนการจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมในหลากหลายด้านร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคสังคม ได้แก่ มูลนิธิข้าวไทย  ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสร้างให้เกิดความตื่นตัวและเกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายด้านขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพนวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยคนไทย เพื่อคนไทยและคนทั่วโลก รวมถึงนำสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไปสื่อสารสร้างภาพลักษณ์และสร้างให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างทั้งในประเทศและในเวทีสากล เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ไปสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม”หรือ Innovation Nation

ด้าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้มอบรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ประจำปี 2562 กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 นับเป็นบิดาแห่งวงการนวัตกรรมไทย ทรงเคยตรัสไว้ว่า เมื่อกล่าวถึงนวัตกรรมผู้คนก็มักจะคิดถึงเรื่องของผลกำไร ซึ่งท่านไม่อยากให้คิดถึงเรื่องนั้นเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้คิดถึงว่าสังคมได้อะไรจากนวัตกรรมนั้นๆ เพราะหากคิดถึงแต่เรื่องกำไร ในระยะยาวสังคมก็อยู่ไม่ได้ ส่วนเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวกับข้าว ทางมูลนิธิฯก็พยายามติดตามว่าหลังการได้รับรางวัล นวัตกรรมนั้นๆถูกต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้จริงหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมามีมากมายหลายนวัตกรรมที่ดีแต่ก็เงียบหาย เพราะไม่ถูกต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจริงในระยะยาว

ทั้งนี้ สุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2562 ที่ NIA จัดประกวดขึ้น รวมถึงจัดประกวดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มีทั้งหมด 10 รางวัล ดังนี้

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2562 รางวัลชนะเลิศ อันดับ1 ประเภทวิสาหกิจขนาดย่อม ได้แก่ เว็บไซต์ชิปป๊อปดอทคอม พัฒนาโดย บริษัท ชิปป๊อป จำกัด เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาค่าขนส่งและจองการส่งสินค้าออนไลน์

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคม ประจำปี 2562 ผู้ชนะเลิศ ประเภทหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ LocalAlike.com : แพลตฟอร์มท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน พัฒนาโดย บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด เป็นนวัตกรรมระดับประเทศที่ใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อนักท่องเที่ยวกับชุมชน และแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนภาคท้องถิ่น

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านการออกแบบ ประจำปี 2562 ผู้ชนะเลิศ ประเภทออกแบบบริการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ My Platform ผลิตโดย MY PLATFORM CO.,LTD เป็น Platform สำหรับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสื่อ ประจำปี 2562 รางวัลชนะเลิศ ประเภทสารคดีสั้น ได้แก่ เปลี่ยนเป็น “เข้าใจ” โดย บริษัท คิดส์-คิสส์ สตูดิโอ จำกัด ซึ่งนำเสนอมุมมองปัญหาของระบบการเรียนการสอนที่ไม่สามารถทําให้นักเรียนเข้าใจหรือไม่ทําให้เกิดความสนใจในเนื้อหาหนังสือ โดยแนวคิดใหม่นี้จะนำเสนอแนวทางที่ใช้หลักการ “เปลื่ยนจากท่องจําเป็นเข้าใจ”

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประจำปี 2562 แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามขนาดขององค์กร ได้แก่ 1) ธุรกิจขนาดเล็ก 2) ธุรกิจขนาดกลาง 3) ธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ได้รางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดเล็ก ได้แก่ บริษัท เอ็กซ์ซี จำกัด องค์กรที่มีการกำหนดโครงสร้างองค์กรชัดเจนในการพัฒนาเทคโนโลยี ผู้ได้รางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดกลาง ได้แก่ บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด องค์กรที่มีการระดมทุนในระดับ Series A และมีแผนเพิ่มการระดมทุน ผู้ได้รางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) องค์กรที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ Property

รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย ผู้ชนะเลิศประเภทนวัตกรรมข้าวไทยในระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอก ข้าวเปลือกสำหรับ การผลิตข้าวฮางงอก พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรี หรือ ปวส ได้แก่อุปกรณ์แจ้งเตือนการลืมกุญแจและป้องกันการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ DTEC  โดยวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 สาขานวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. ได้แก่ Fitness In the air   โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี

รางวัล Prime Minister Award: National Startup และ Startup Thailand League เพื่อเชิดชูเกียรติแก่สตาร์ทอัพ บริษัท และบุคคลในธุรกิจสาขาต่างๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง มีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ ร่วมถึงสนับสนุนให้นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และอาชีวะทั่วประเทศ

แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1) รางวัล Startup of the year ผู้รับรางวัล ได้แก่ Local Alike

2) รางวัล Global Tech Startup of the year ผู้รับรางวัล ได้แก่ aCommerce

3) รางวัล Evangelist of the year ผู้รับรางวัล ได้แก่ คุณณิชาภัทร อาร์ค และ คุณมนธิดา แมคคูล

4) รางวัล Investor of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ Add Ventures

5) รางวัล Best Brotherhood of the year รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ธนาคารออมสิน

รางวัลแผนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. นักเรียน (อายุไม่เกิน 18 ปี) 2. อุดมศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี) 3. บุคคลทั่วไป ประเภทนักเรียน (อายุไม่เกิน 18 ปี) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการ Smart Sprinkler หรือโครงการที่ต้องการพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรอัจฉริยะที่ช่วยทุ่นแรงให้กับเกษตรกร ประเภทอุดมศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการ มักม่วน.คอม เป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหามรดกทางวัฒนาธรรมของภาคอีสาน และประเภทบุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โครงการ SAXTEX เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา โดยการนำไปเคลือบกับผ้ากระสอบด้วยเทคนิคพิเศษ ที่มีความสวยงามและคงทน

รางวัล UAV Startup เพื่อเชิดชูเกียรติผู้สร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานและภาคอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอากาศยานไร้คนขับ หรือ Unmanned Aerial Vehicle: UAV ขึ้นในประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ด้านความมั่นคงและกิจการพลเรือน 2) ด้านบรรเทาภัยพิบัติ ผู้ชนะเลิศประเภทด้านความมั่นคงและกิจการ พลเรือน ได้แก่ ผลงาน ซอฟท์แวร์สำหรับโดรนในการสร้างแผนที่ 3 มิติและระบุตำแหน่งตนเองด้วยคอมพิวเตอร์บนตัวโดรน เป็นซอฟท์แวร์สำหรับโดรนในการสร้างแผนที่ 3 มิติและระบุตำแหน่งตนเองด้วยคอมพิวเตอร์บนตัวโดรน ผู้ชนะเลิศด้านบรรเท่าสาธารณะภัย ได้แก่ Multi-rotor UAV for Monitoring Violent Behavior in Crowds โดยบริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อลดควสามเสี่ยงของการเกิดอุบัติและอาชญากรรม ในงานหรือเหตุการณ์ที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ