“นักวิจัย Kaspersky” แนะวีธีป้องกันสแกมเมอร์ปลอมจากอีเมลคุกคามไถ่เงิน

วันจันทร์ที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

“นักวิจัย Kaspersky” แนะวีธีป้องกันสแกมเมอร์ปลอมจากอีเมลคุกคามไถ่เงิน


นักวิจัยของ Kaspersky เปิดเผยรูปแบบการหลอกลวงเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยนักต้มตุ๋นปลอมเป็นเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองหรือซีไอเอ โดยได้เรียกร้องเงิน Bitcoin มูลค่า 10,000 เหรียญสหรัฐ จากคนที่ตกเป็นเหยื่อ โดยอ้างว่าได้ตรวจสอบเจอประวัติคดีอาชญากรรมล่วงละเมิดทางเพศ อนาจาร โดยพวกนี้ยังอ้างอีกว่ามีข้อมูลญาติของเหยื่ออีกด้วย รวมไปถึงที่อยู่ที่ทำงาน และบอกว่าจะลบประวัติทั้งหมดให้หากเหยื่อยอมจ่ายเงิน โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าตอนนี้ได้หลอกหลวงไปกี่รายแล้ว

สำหรับแผนการกรรโชกทรัพย์ที่ใช้วิธีการขู่จะเปิดเผยข้อมูลลับเรื่องลามกอนาจารหากไม่จ่ายค่าไถ่ ในหลายกรณีข้อมูลเหล่านี้มาจากข้อมูลที่เคยรั่วไหล อีเมลที่ส่งมาจะระบุให้เห็นได้ชัดเจนว่าปลอม โดยสังเกตได้จากการใช้ภาษาที่สะกดผิด แต่อีเมลที่มาจากการต้มตุ๋นที่ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่จากซีไอเอนั้น นักวิจัยเปิดเผยว่ามีความแตกต่างเพราะพวกเขามีความระมัดระวังในการใช้คำอย่างแนบเนียนแถมยังมีโลโก้ของของซีไอเออีกด้วย

เนื้อหาอีเมลที่มาจากเจ้าหน้าที่ซีไอเอปลอมนั้น จากกรณี #45361978 เขียนว่า "แผนปฏิบัติการใหญ่ข้ามชาติ กำหนดให้จับผู้ต้องสงสัยที่ล่อลวงอนาจารเด็ก จำนวนกว่า 2,000 คน ใน 27 ประเทศ" ผู้เขียนยังอ้างถึงข้อมูลติดต่อของเหยื่อ และญาติของเหยื่อ จะรวมอยู่ในรายการที่จัดขึ้นเพื่อดำเนินการ และอ้างว่าจะลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแลกกับการจ่ายเงินคริปโตเป็นจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ

"ข้อความเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้ผู้รับตกใจกลัว พวกต้มตุ๋นจะใช้ข้อมูลที่เกิดจากข้อผิดพลาดในโลกยุคดิจิทัล และชื่อของผู้คนจะไปอยู่ในที่ที่ผิดได้ คนที่ไม่รู้เรื่องอาจจะยอมจ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียชื่อเสียงและกระทบต่อความสัมพันธ์ อีเมลแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นของปลอม และพวกเขาก็ไม่มีข้อมูลตามที่อ้างจริง ๆ ผู้รับอีเมลอาจจะมีเพียงแค่หนึ่งในหลายพันคนที่ได้รับอีเมลเหล่านี้ โชคดีที่ยังมีสัญญาณที่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นพวกหลอกลวง ที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันตัวเอง ที่สำคัญคืออย่าตกใจ อย่าตอบกลับ และอย่าจ่ายเงินเด็ดขาด"

ทัทยานา เชอบาโกฟวา นักวิจัยด้านความปลอดภัย Kaspersky กล่าวนักวิจัย Kaspersky ให้คำแนะนำหากคุณได้รับอีเมลที่คุกคามไถ่เงิน ควรปฏิบัติดังนี้

- เมื่อเห็นอีเมลให้ตั้งเป็น spam เพื่อครั้งหน้าระบบจะสามารถคัดกรองได้ และลบอีเมลนั้นทันที

- ไม่ควรคลิกเข้าไปในลิงก์ที่ส่งมาจากคนหรือองค์กรที่เราไม่รู้จัก หรือเป็นที่อยู่ที่น่าสงสัยหรือผิดปกติ

- ไม่ควรติดต่อกลับหรือจ่ายเงินให้กับพวกหลอกลวง การตอบกลับคือการแสดงตัวว่าบัญชีของคุณมีตัวตนจากนั้นคุณจะได้รับอีเมลพวกนี้อีกจำนวนมาก และหากจ่ายเงินไปพวกนั้นก็จะคิดว่าคุณเป็นคนที่จะกลับมาหลอกเงินคุณอีกได้

- ใช้โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่หลากหลาย อย่างเช่น Kaspersky Security Cloud

 

 



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ