“Kaspersky Lab” เตือน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ระวัง ภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

“Kaspersky Lab” เตือน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต  ระวัง ภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทย


รายงานจากข้อมูลของ Kaspersky Security Network (KSN) ระบุว่าเมื่อปี 2561 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยกว่า 31.8% ได้ถูกโจมตีโดยภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากปี 2560 ที่ Kaspersky Lab ได้ตรวจจับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้เพียง 12,696,011 ชนิด และมีผู้ใช้ที่ได้รับการโจมตีเพียง 29.0%

นาย ซูกูรุ อิชิมารุ นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Kaspersky Lab ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามออนไลน์ในประเทศไทยล้อตามเทรนด์ทั่วโลก ด้วยอัตราการเติบโตโดยภาพรวมของการติดตั้งของแพคเกจภัยคุกคามที่เป็นอันตราย และโทรจัน ที่อันตรายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินหรือธนาคารบนมือถือ หลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังกลายเป็นประเทศติดอันดับท็อปเท็นในโลกที่มีอัตราการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตสูง ตัวอย่างเช่น โทรจันของการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือที่ชื่อว่า DanaBot ได้ถูกตรวจจับเมื่อไตรมาสที่ 2 ปี 2561 และยังเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายอย่างรวดเร็ว

"ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลกที่จัดอันดับจากระดับอันตรายจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ที่เราได้ตรวจจับจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ถึงแม้ว่าจะถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ทางเราก็ยังคงกระตุ้นให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศใช้การป้องกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต จากการที่เราได้ป้องกันกว่า 30 ล้านชนิด เมื่อปีที่แล้ว พิสูจน์ได้ว่าประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายของการโจรกรรมทางไซเบอร์ ดังนั้นควรจะเสริมเกราะป้องกันและเปลี่ยนนิสัยการใช้งานอินเตอร์เน็ต อย่าตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

นาย โย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป Kaspersky Lab ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า  การโจมตีผ่านเบราเซอร์เป็นวิธีการหลักของการโจรกรรมที่เผยแพร่โปรแกรมที่อันตราย อาชญากรรมไซเบอร์ส่วนใหญ่จะหาช่องโหว่ของเบราเซอร์และปลั๊กอินด้วยการให้ดาวน์โหลด การติดไวรัสจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่มีไวรัสโดยที่ไม่มีการป้องกันหรือผู้ใช้ไม่มีความรู้มาก่อน กลวิธีนี้ใช้โจมตีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมัลแวร์ที่ไม่มีไฟล์ (File-less) จะอันตรายที่สุด มันจะตั้งรหัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือ WMI การสมัครรับข้อมูล ทำให้ไม่เหลือข้อมูลใด ๆ บนดิสก์เลย

สินค้าของ Kaspersky Lab ที่ได้พัฒนาเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ ที่หลบซ่อนอยู่ ใช้องค์กระกอบในการตรวจจับที่เรียกว่า Behavior Detection ที่เป็นประโยชน์จากต้นแบบ ML-based และการตรวจสอบพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ถึงแม้ว่าไม่ทราบรหัสก็ตาม อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่พัฒนาโดย Kaspersky Lab ก็คือ Exploit Prevention ที่จะเปิดเผยและบล็อกมัลแวร์ในทันทีเมื่อเจอมัลแวร์ที่อาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์”

ทั้งนี้ การโจมตีทางออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นแบบทั่วไปที่ต้องการให้ผู้ใช้มีส่วนร่วม นั่นคือ ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดไฟล์ที่เป็นอันตรายมาไว้ในคอมพิวเตอร์ จะเกิดขึ้นเมื่ออาชญากรไซเบอร์ทำให้เหยื่อเชื่อว่าพวกเขากำลังดาวน์โหลดโปรแกรมที่ถูกกฎหมายอยู่ เป้าหมายหลักของอาชญากรจะต้องทำให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดมัลแวร์อันตรายเหล่านั้น ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือแอปที่เป็นตัวที่จะขโมยข้อมูลต่าง ๆ มัลแวร์นี้สามารถปลอมตัวเป็นแอปอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ที่กำลังนิยมหรือแอปที่ใช้ตรวจสภาพอากาศหรือการจราจร ซึ่งไม่ควรที่จะเปิดอีเมลที่น่าสงสัย เช่นการแข่งขันหรือข้อเสนอที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

 



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ