มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวนวัตกรรมThai Tuner แอปพลิเคชันเทียบเสียงดนตรีไทย

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561

มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวนวัตกรรมThai Tuner แอปพลิเคชันเทียบเสียงดนตรีไทย


ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ต่อยอดดนตรีไทยสู่โลกเศรษฐกิจ สมกับยุคไทยแลนด์ 4.0  ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมเที ยบเสียงดนตรีไทย... แอปพลิเคชันแรกของโลก ภายใต้ชื่อ “Thai Tuner”  บนสมาร์ทโฟน ทั้งในระบบ iOS และ Android นับเป็นเครื่องมือการเทียบเสียง เครื่องดนตรีไทยที่คิดค้นขึ้ นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมพัฒนาต่อยอดสู่การผลิตเครื่ องดนตรีไทยต้นแบบด้วยกรรมวิธีดิ จิตอล โดยการผลิตฉิ่งและขลุ่ย ที่ได้ค่าความถี่เสียงที่ถูกต้อ งตามมาตรฐาน เป็นผลงานชิ้นแรกของโลก  ทั้งนี้เพื่อสืบสานและรักษามาต รฐานเสียงดนตรีไทยให้คงเอกลักษณ์ ความเป็นไทย รวมทั้งส่งต่อองค์ความรู้ใหม่ ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กั บเครื่องดนตรีไทย และขยายตัวสู่ตลาดทั้งในและต่าง ประเทศ

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิ จสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ริเริ่มโครงการ Thai Tuner กล่าวว่า “ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้พัฒนานวัตกรรม แอปพลิเคชัน Thai Tuner ขึ้นมาเพื่อสืบสานและรักษามาตรฐ านเสียงของเครื่องดนตรีไทยให้คง อยู่ต่อไป โดยนำองค์ความรู้จากโครงการวิจั ยค่าความถี่เสียงดนตรีไทย ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเ ด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มาพัฒนาเป็นโปรแกรมเทียบเสียงดน ตรีไทย โดยมีเป้าหมายหลักคือ การนำพาอุตสาหกรรมดนตรีไทยสู่ยุ คไทยแลนด์ 4.0 ด้วยนวัตกรรมและการบูรณาการองค์ ความรู้ ทั้งการพัฒนาแอปพลิเคชั่ นบนสมาร์ทโฟนและการต่อยอดสู่ การผลิตเครื่องดนตรีไทยต้นแบบ เพื่อให้ได้เครื่องดนตรีไทยที่ มีมาตรฐาน ได้ค่าความถี่เสียงถูกต้อง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสา หกรรมดนตรีไทย”

การพัฒนาโปรแกรมเทียบเสียงดนตรี ไทยในรูปแบบของแอปพลิเคชันบนมือ ถือ รองรับทั้งในระบบ iOS และ Android สำหรับโปรแกรมได้มีการออกแบบทั้ ง User Interface และ User Interaction ประกอบด้วยโปรแกรมเทียบเสี ยงเครื่องดนตรี จำนวน 89 ชิ้นโดยแบ่งเป็นประเภท ดีด สี ตี เป่า ร้อง สำหรับให้นักดนตรีไทย นักเรียน นักศึกษา ครู และผู้ผลิตเครื่องดนตรีไทย  สามารถใช้เทียบเสียงหรือตั้งค่ าเสียงเครื่องดนตรีไทยได้อย่ างมีมาตรฐาน สะดวกและใช้งานได้ง่ายด้ วยระบบบันทึกค่าความถี่เป็นตั วเลขดิจิตอล  นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลควา มรู้ของเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ พร้อมภาพประกอบไว้ เพื่อให้ได้ศึกษาค้นคว้าอย่างละ เอียด ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลไปยังป ระชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเท ศต่อไป

 “เมื่อพัฒนาโปรแกรมเทียบเสี ยงแล้ว โครงการยังได้พัฒนาต่อยอดไปสู่ก ารสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องดน ตรีไทยต้นแบบประเภทฉิ่งและขลุ่ย ที่จำเป็นต้องมีการจูนเสียงระหว่ างกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้เสียงที่มีค่าความถี่ เสียงมาตรฐานถูกต้อง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่สร้ างสรรค์สวยงามแสดงความเป็ นไทยเช่นกัน  ทั้งนี้การผลิตเครื่องดนตรี ไทยต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลายด้ าน มีการบูรณาการองค์ความรู้จากหลา ยศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลา ยภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต นักวิจัย และผู้ใช้ ซึ่งจากความสำเร็จในการผลิตเครื่ องดนตรีต้นแบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถช่วยใ ห้ผู้ผลิตเครื่องดนตรีไทย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 300 ราย สามารถผลิตเครื่องดนตรีคุณภาพ มาตรฐานสากล และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสา หกรรมเครื่องดนตรีไทย ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี”

ทั้งนี้ ปัจจุบันเครื่องดนตรีไทยนอกจากผ ลิตและขายในประเทศไทยแล้ว ในหลายประเทศได้มีการส่งเสริมดน ตรีไทยอย่างกว้างขวาง เช่น ประชาคม ASEAN อเมริกา อังกฤษ และเนเธอแลนด์ เป็นต้น ดังนั้นการผลิตเครื่องดนตรี ไทยที่ได้มาตรฐาน เป็นการนำเครื่องดนตรีไทยเข้าสู่ ตลาดทางวัฒนธรรมมากขึ้นเช่นกัน ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย กล่าว

ด้านอาจารย์ปกรณ์ หนูยี่ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ผู้วิจัยโครงการวิจัยค่าความถี่ เสียงดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน กล่าวถึง การเทียบเสียงเครื่องดนตรีพื้ นบ้านทั้ง 4 ภาคว่า จากการลงภาคสนามพบว่าทั้ง 4 ภาค มีการใช้ระบบเสียงแบบสากลมาอ้าง อิงในการเทียบเสียงเครื่องดนตรี ค่อนข้างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะบรรเลงร่ วมกับเครื่องดนตรีสากลและอี กเหตุผลหนึ่งคือไม่มีมาตรฐานเสี ยงต้นแบบที่ใช้อ้างอิง แต่สำหรับวงดนตรีไทยภาคกลางส่วน ใหญ่ยังคงยึดความถี่เสียงแบบเดิ มอยู่ โดยจะยึดเอามาตรฐานเสี ยงของกรมศิลปากรเป็นหลั กในการเทียบเสียง

 “ที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยมีเครื่องมือหรื ออุปกรณ์สำหรับเทียบเสียงเครื่อ งดนตรีมาก่อน   การเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทยตั้ งแต่อดีตจะใช้โสตประสาทของนักดน ตรีหรือครูดนตรีเป็นหลัก  ทำให้เสียงของเครื่องดนตรีไทยแต กต่างกันไปตามแต่ละสำนัก  และนับวันนักดนตรีไทยที่เชี่ยวช าญด้านการเทียบเสียงก็ลดน้อยลง ประกอบกับวัฒนธรรมดนตรีตะวั นตกที่หลั่งไหลเข้ามาหลากหลายช่ องทาง ดังนั้นแอปพลิเคชัน Thai Tuner   จึงเป็นเครื่องมือการเทียบเสียง ดนตรีไทยครั้งแรก และเป็นแอปพลิเคชันแรกของโลกที่ รวบรวมการเทียบเสียงเครื่ องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีพื้ นบ้าน  โดยจะเเสดงผลค่าความถี่มาตรฐานจ ากการวิจัย ทำให้เสียงของเครื่องดนตรี ของแต่ละภาคมีมาตรฐานไปในทิ ศทางเดียวกัน ถือเป็นการช่วยรักษาและอนุรักษ์ วัฒนธรรมอีกทางหนึ่งด้วย”

นอกจากนี้ โครงการยังมีการวิจัยการผลิ ตเครื่องดนตรีไทยต้นแบบด้ วยกรรมวิธีดิจิตอล เพื่อให้ได้เครื่องดนตรีไทยที่ มีมาตรฐาน ผลิตเครื่องดนตรีไทยออกมาแล้ วได้ค่าความถี่เสียงถูกต้ องโดยครั้งนี้ได้เริ่มจากการผลิ ต ฉิ่ง และขลุ่ย ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยที่มีคว ามสำคัญอย่างมากและจำเป็นต้ องผลิตให้ได้เสียงที่เป็ นมาตรฐาน จึงมีการนำเทคโนโลยี CAD/CAM มาใช้ทำให้การผลิตให้ได้เสี ยงเป็นมาตรฐาน สามารถลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรธ รรมชาติ เนื่องจากการผลิตระบบนี้สามารถค วบคุมมาตรฐานของเสียงได้ 100% จึงไม่เกิดความเสียหายในขณะผลิต ทั้งนี้จากกระบวนการผลิตรูปแบบใ หม่ที่คิดค้นวิจัยขึ้น ทางโครงการ Thai Tuner จะส่งต่อองค์ความรู้ในการผลิ ตให้กับผู้ประกอบการที่ผลิตเครื่ องดนตรีไทย สำหรับนำไปใช้ในการผลิตอย่างมี คุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเครื่ องดนตรีไทยต่อไป

สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอ ปพลิเคชัน Thai Tuner ลงบนมือถือสมาร์ทโฟน เพื่อใช้งานได้ทั้งระบบ iOS และ Android  ได้แล้ววันนี้ ฟรี ทาง  App Store หรือ Play Store



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ