ภาครัฐจับมือเอกชนร่วมพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟไทยต้นน้ำ-ปลายน้ำ

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

ภาครัฐจับมือเอกชนร่วมพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟไทยต้นน้ำ-ปลายน้ำ


          อนาคตกาแฟไทยสดใส ภาครัฐและเอกชนร่วมมือพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟไทยทั้งด้านคุ ณภาพและปริมาณตั้งแต่ต้นน้ำจนถึ งปลายน้ำ พร้อมผลักดันขึ้นเป็นพืชเศรษฐกิ จตัวใหม่ หลังการเติบโตของตลาดกาแฟไทยแตะ 30,000 ล้านบาท ล่าสุดเปิดร่างยุทธศาสตร์กาแฟจั ดโครงการประชุมการพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 สร้างความร่วมมือและโรดแมปสร้ างอาเซียนเป็นแหล่งผลิตกาแฟสำคั ญของโลก

            ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงยุทธศาสตร์กาแฟในช่ วงระยะ 5 ปี ช่วงปี2559-2563 ว่า ทางกระทรวงฯ มีเป้าหมายต้องการให้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ นำในด้านการผลิตและการค้ากาแฟคุ ณภาพของภูมิภาคอาเซียน โดยจะมีการผลักดันให้กาแฟเป็นพื ชเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่สร้ างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ เกษตรกรและผู้ดำเนินธุรกิจที่ อยู่ในอุตสาหกรรมกาแฟของไทย เนื่องจากแนวโน้มราคาผลผลิตเมล็ ดกาแฟคุณภาพในตลาดโลกมีแนวโน้ มที่สูงขึ้น รวมถึงการเติบโตของอุ ตสาหกรรมกาแฟไทยที่มีมูลค่าสู งแตะ 30,000 ล้านบาท

ขณะที่ผลผลิตเมล็ดกาแฟของไทยยั งไม่เพียงพอต่อความต้องการบริ โภคภายในประเทศ สาเหตุจากพื้นที่เพาะปลูกที่ ลดลงเหลือ 259,867 ไร่ ทำให้ผลผลิตกาแฟลดลงไปด้ วยโดยเหลือเพียง 23,273 ตัน แต่ยังสามารถสร้างรายได้ให้ เกษตรกรปีผู้ปลูกถึงปีละอย่างน้ อย 200 ล้านบาท ซึ่งธุรกิจกาแฟของไทยมีมูลค่ าในการส่งออกประมาณ 3,900 ล้านบาท ในปี 2560 แต่มีมูลค่าการนำเข้าถึงประมาณ 8,044 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการบริ โภคและใช้ในอุตสาหกรรมอยู่ที่ 90,000 ตัน และ คาดว่าในปีนี้ (2561) ความต้องการจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1 แสนตัน ด้วยเหตุนี้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ องค์กรที่เกี่ยวข้อง จึงมีการร่วมมือกันเพื่อพั ฒนาการผลิตกาแฟในทุกกระบวนการตั้ งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้เป็ นไปอย่างมีระบบ ด้วย 5 กลยุทธ์สำคัญ คือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพั ฒนาคุณภาพผลผลิตโดยไม่ทำลายสิ่ งแวดล้อม พัฒนาการแปรรูปและสร้างมูลค่ าเพิ่ม พัฒนาด้านการตลาด พัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มทั้ งคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้แก่อุ ตสาหกรรมกาแฟไทย 

ด้าน ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของการจัดการประชุ มการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซี ยนครั้งที่ 1 ว่า ประเทศไทยและประเทศกลุ่มอาเซี ยนถือว่าเป็นเพียงไม่กี่กลุ่ มประเทศที่อยู่เขตพื้นที่ เหมาะสมแก่การปลูกกาแฟ หรือ ที่เรียกว่าเขต Bean Belt โดยรายงานขององค์ การอาหารและเกษตรกรรมของสหประชา ชาติ (ยูเอ็นเอฟเอโอ) ระบุว่าภูมิภาคเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้มีผลผลิตเมล็ ดกาแฟในสัดส่วน 1 ใน 4 ของผลผลิตเมล็ดกาแฟทั่วโลก มีอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ใกล้เคียงกับกาแฟจากทวีปแอฟริกา โดยเวียดนามเป็นแหล่งผลิตกาแฟพั นธุ์โรบัสตาอันดับ 1 ของโลก และ เป็นผู้ผลิตกาแฟสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก บราซิล นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตกาแฟสำคั ญอย่างอินโดนีเซีย ลาว ไทย และ พม่าที่มีแนวโน้มผลผลิตมากขึ้น ซึ่งหากมีการร่วมมือกันพัฒนาตั้ งแต่กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ผลิตสายพันธุ์กาแฟ ปลูกและเก็บเกี่ยวจนเป็นสารเมล็ ดกาแฟ จนไปถึงปลายน้ำคือผลิตภัณฑ์ กาแฟสำหรับดื่มแล้วจะทำให้ ประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถก้ าวขึ้นเป็นแหล่งผลิตกาแฟชั้ นนำของโลกได้

            ในการประชุมการพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟในอาเซียนครั้งนี้ มีคณะอนุกรรมการการจัดงานรวมทั้ งสิ้น 12 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าภาพ  สมาพันธ์กาแฟอาเซียน สมาคมบาริสต้าไทย สมาคมกาแฟไทย สมาคมชาวสวนกาแฟไทย สมาคมกาแฟและชาไทย และ มูลนิธิชาวสวนกาแฟ ในฐานะเจ้าภาพร่วม และ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในฐานะผู้จัดงาน   ภายใต้เป้าหมายที่จะ "เป็นผู้นำการผลิตและการค้ ากาแฟคุณภาพในภูมิภาคอาเซียน ก้าวไกลสู่ตลาดโลกภายใต้ภาพลั กษณ์กาแฟไทย" ภายในปี 2564

            สำหรับรายละเอียดในการจัดงานฯ นั้น นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล ประธานบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า โครงการประชุมการพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 จะเป็นการประชุมหารือด้านความร่ วมมือการพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟไทยและอาเซียนโดยมี เป้าหมายหลักร่วมกันในการสร้ างการต่อยอดทางความคิดในด้ านของวิชาการและด้านธุรกิจ โดยงานประชุมฯ จะจัดขึ้นในวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2561 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภายในงานนอกจากจะมีการประชุมที่ สำคัญแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย อาทิ

-        การประกวดการแข่งขัน ACID 2018 Barista Royal Princess Cups ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรั ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 รายการ ได้แก่ การแข่งขัน ACID 2018 Brewer Cup Championship และการแข่งขัน ACID 2018 Latte Art Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันระดั บนานาชาติที่เปิดรับทั้งผู้เข้ าแข่งขันจากไทยและนานาชาติ

-        งาน ASEAN Coffee Festival ซึ่งเป็นการจัดแสดงนิ ทรรศการผลงานด้านวิ ชาการและงานแสดงสินค้า เพื่อให้องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ได้มีโอกาสนำเสนอภาพลักษณ์และธุ รกิจขององค์กรในด้านความยั่งยืน ตลอดจนเปิดโอกาสทางการทำธุรกิ จการค้าของทุกกลุ่มตั้งแต่กิ จการด้านการเกษตร กิจการโรงคั่ว กิจการโรงงาน กิจการเครื่องมือและเทคโนโลยี ในการประกอบธุรกิจกาแฟ กิจการร้านค้ากาแฟ และ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในธุรกิ จกาแฟ รวมทั้งพาวิลเลี่ ยนจากบรรดาประเทศสมาชิกอาเซี ยนและประเทศอื่นๆ

-        การเยี่ยมชมดูงานด้านกาแฟ อาทิ โครงการหลวง แหล่งปลูกกาแฟ โรงคั่วกาแฟ และร้านกาแฟ

ด้วยเหตุนี้จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ อยู่ในอุตสาหกรรมกาแฟและผู้ สนใจในกาแฟเข้าร่วมงานในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการจัดงานที่ต้ องการให้เกิดการพัฒนาอุ ตสาหกรรมกาแฟจากต้นน้ำยังปลายน้ำ ได้อย่างแท้จริง และ เป็นหนึ่งในเครื่องมือของการขั บเคลื่อนยุทธศาสตร์กาแฟ 2560-2564 ของประเทศไทยให้บรรลุยังเป้ าหมายอีกด้วย



บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ