Toggle navigation
วันศุกร์ ที่ 2 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
สุขภาพ & ความงาม
"กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" คัมภีร์ป้องกันไข้หวัดใหญ่
"กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" คัมภีร์ป้องกันไข้หวัดใหญ่
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
Tweet
โรคไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งบางปีอาจจะพบการระบาด พบเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
น.พ.ภัทระ เอี่ยมกมลา อายุรแพทย์ โรงพยาบาลธนบุรี 2 ได้ให้ความรู้แนะนำการดูแลตนเอง เพื่อรู้ทันไข้หวัดใหญ่ โดยไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัส influenza ติดต่อง่าย มีผู้ป่วยตลอดปี ส่วนไข้หวัดธรรมดาเกิดจากไวรัสชนิดอื่น rhinovirus โดยในปี 2552 เกิดไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยวัคซีน และหากป่วยแล้วมียาต้านไวรัสรักษาได้
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งทุกคนสามารถป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ ที่สำคัญ คือ กลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยตายจากไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมต่างๆ เด็กอายุน้อย หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วนน้ำหนักมาก ซึ่งกลุ่มเสี่ยงนี้ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
ทั้งนี้ อาการของไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดธรรมดาแยกกันไม่ค่อย ได้ ไข้หวัดธรรมดามักมีอาการน้อย เช่น ไข้ต่ำ คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ไอมีน้ำมูก เพลียมาก และมีโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้
สำหรับผู้ป่วยทั่วไป หากพักผ่อนอยู่บ้าน กินยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ส่วนมากจะหายเองได้ตามลำดับใน 5-7 วัน แต่ควรมาพบแพทย์ทันที หากมีอาการรุนแรง ไม่ว่าจะยังมีไข้อยู่ หรือไข้ลดลงแล้วก็ตาม ได้แก่ ซึมลง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอออกเลือด ปลายมือ เท้า หรือริมฝีปากเขียว กินอาหารไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย
หากมีอาการเจ็บป่วยข้างต้น และมีประวัติคนใกล้ชิดเป็นไข้หวัดใหญ่ช่วยให้คิดถึงโรคนี้ แพทย์อาจส่งตรวจสิ่งคัดหลั่งจากคอ หรือจมูก ตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการยืนยันโรค การรักษาด้วยยาต้านไวรัสนาน 5 วัน ควรกินยาปฏิชีวนะเมื่อสงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ส่วนการป้องกันการติดต่อไข้หวัดใหญ่ไปสู่ผู้อื่นเมื่อป่วยไข้หวัดใหญ่ โดยผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ควรหยุดงาน พักอยู่บ้าน และแยกตนเองจากผู้อื่น ซึ่งไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อผ่านฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย จากการไอจามรดกันในระยะประชิด 1.2 เมตร ไปสู่คนใกล้ชิด สิ่งรอบตัวผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ โทรศัพท์
ดังนั้น สิ่งสำคัญ 2 ข้อแรก คือ 1.การล้างมือให้สะอาดเสมอ ล้างบ่อยๆ 2.การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่ทั้งนี้ควรร่วมกันยึดหลักสุขนิสัยที่สำคัญอื่นๆ ด้วย กินอาหารมีประโยชน์ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มแอกอฮอล์ ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อนป่วย ฉีดวัคซีนต้นแขนทุกปี ป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ในเข็มเดียว วัคซีนรุ่นใหม่ป้องกันได้ 4 สายพันธุ์
อย่างไรก็ตาม ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่ทุกเพศวัย ห้ามฉีดหากแพ้ไข่ หรือเคยมีประวัติแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ งดฉีดหากมีไข้ อาจเจ็บบริเวณฉีดยาได้เล็กน้อย อาจเป็นตุ่มแดง ไข้ต่ำๆ ได้ หากเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเป็นไข้หวัดใหญ่แล้ว เมื่อหายป่วย ไข้ลงดี ก็สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ