Toggle navigation
วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม 2568
หน้าแรก
ข่าวสาร
วิเคราะห์-บทความ-ต่างประเทศ
ประกัน
ยานยนต์
การเงิน-ธนาคาร
หุ้น-กองทุนรวม
อสังหาริมทรัพย์
พลังงาน-คมนาคม-โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม-เออีซี-เอสเอมอี
ไอที
การศึกษา-กทม
การตลาด-ซีเอสอาร์
เกษตรยุคใหม่-ภูมิภาค
บันเทิง
ขายตรง
ประชาสัมพันธ์
PR NEWS -ข่าวประชาสัมพันธ์
ไลฟ์สไตล์
ท่องเที่ยว
แฟชั่นโซไซตี้-ดูดวง
ช๊อป-ชิม-ชิล
สุขภาพ-ความงาม
วิดีโอ-คลิปข่าว
E-Book
นสพ. สยามธุรกิจ
ติดต่อเรา
สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร ทางอีเมลล์ : siamturakijonlinenews@gmail.com และ สำหรับฝ่ายโฆษณา ทางอีเมลล์ : siamturakijadvertising@gmail.com
หน้าแรก
กทม.- สังคม - การศึกษา - CSR
"ระบบตรวจจับป้ายฯ"อุปกรณ์เพื่อผู้ขับขี่รถ
"ระบบตรวจจับป้ายฯ"อุปกรณ์เพื่อผู้ขับขี่รถ
วันพุธที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Tweet
ในปัจจุบันนี้ยังคงมีการรับบัตรผ่าน หรือบัตรเข้า-ออก ด้วยแรงงานคนให้เห็นในหลากหลายสถานที่กันอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตามทางด่วน ตามห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ตามหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ ซึ่งสร้างความล่าช้าและเกิดปัญหาแก่ผู้ขับขี่เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในบางครั้งต้องรอคิวนานจนรถติดยาวโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาเร่งด่วน ดังนั้นทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้คิดค้นระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ เพื่อสร้างความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการรอรับบัตรแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ
ดร.จันทนา ปัญญาวราภรณ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้คิดและพัฒนระบบกล่าวว่า "ระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติโดยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมและฮีสโทรแกรมนี้ ใช้เทคนิคการรู้จำตัวเลข เพื่อนำมาปรับใช้กับการตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์บริเวณทางเข้า-ออกเพื่อลดแรงงานคนและเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่ หลักการทำงานคือ รับภาพจากกล้องวีดิทัศน์ในโหลดเวลาจริง (REAL-TIME) หลังจากนั้นส่งภาพไปที่ส่วนประมวลผลภาพเพื่อปรับขนาดโดยใช้เทคนิคการประมาณค่าแบบไบคิวบิค ภาพที่ได้จะทำการส่งต่อเพื่อหาขอบภาพ (EDGE) ของแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์"
"เมื่อได้ภาพแผ่นป้ายทะเบียนแล้วทำการตัดตัวอักษรและจังหวัดออกให้เหลือแต่ส่วนที่นำไปจำแนกตัวเลข ในกระบวนการจำแนกตัวเลขใช้หลักการของวิธีโครงข่ายประสาทเทียมและฮีสโตแกรม สำหรับขั้นตอนสุดท้ายคือการบันทึกข้อมูลเก็บเป็นรูปแบบไฟล์เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล จากผลการทดลองสังเกตเห็นว่าโปรแกรมสามารถตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ได้ถูกต้องถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่มีผลต่อการจำแนกตัวเลขเช่น แสงและระยะห่าง ฯลฯ ซึ่งปริมาณแสงที่เพียงพอ ระยะห่างระหว่างกล้อง วีดิทัศน์กับแผ่นป้ายทะเบียนที่เหมาะสมประมาณ 0.5-3 เมตร และต้องมีพื้นที่แผ่นป้ายทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของภาพทั้งหมด โปรแกรมใช้เวลาในการประมวลผลเฉลี่ยประมาณ 1.2 วินาทีต่อหนึ่งภาพ"
ระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัตินี้ เป็นผลงานของ ดร.จันทนา ปัญญาวราภรณ์ สิทธิศักดิ์ สิริจำนรรจ์ และอาทิตย์ รอดเสียงล้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งในตอนนี้ยังอยู่ในขั้นการทดสอบ และปรับปรุงระบบให้สามารถนำไปใช้งานจริงได้ คาดว่าผลงานชิ้นนี้น่าจะสร้าง ประโยชน์ด้านการจราจรให้แก่สังคมไทยได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Associated Press
“พาวเวอร์ เอซ วัน” ลงนามสัญญาโครงการแปรร...
...
"การเคหะแห่งชาติโชว์คะแนนผลการประเมินการ...
...
การเคหะแห่งชาติเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิ...
...
ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนั...
...
การเคหะแห่งชาติ จับมือ อคส. ลดภาระค่าครอ...
...
บริษัท สมาร์ท โกลด์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด SMART GOLD MEDIA GROUP CO.,LTD. ติดต่อสอบถาม โทร : 0893284192 , ID Line : @siamturakij และ ฝ่ายโฆษณา siamturakijadvertising@gmail.com
© 2013 สยามธุรกิจ
×
เว็บไซต์ “สยามธุรกิจ” ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
กดยอมรับ